การจัดการชั้นเรียน
การจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียน
1.คุณได้เรียนรู้อะไรบ้างในการเรียนที่ผ่านมา (ครึ่งภาคเรียน)
แก้ไขตอบ 1. กรอบแนวคิดทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21
แก้ไขทักษะของเด็กในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย
1.1ทักษะชีวิตและอาชีพ 1) ความยืดหยุ่นและการปรับตัว ได้แก่
1.1) การปรับตัวเพื่อรับการเปลี่ยนแปลง
1.2) เกิดความยืดหยุ่นในการทำงาน
2) เป็นผู้มีความคิดริเริ่มและเป็นผู้นำ ได้แก่
2.1) การจัดการด้านเป้าหมายและเวลา
2.2) การสร้างงานอิสระ
2.3) เป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพในตนเอง
3) ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ประกอบด้วย
3.1) ประสิทธิผลเชิงปฏิสัมพันธ์ร่วมกับผู้อื่น
3.2) การสร้างทีมงานที่มีคุณภาพ
4) การเพิ่มผลผลิตและการรู้รับผิด ประกอบด้วย
4.1) การจัดการโครงการ จัดการให้เกิดผลลัพธ์ที่มุ่งหวัง
4.2) ผลผลิตที่เกิดขึ้น
5) ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ หมายถึง ความเป็นตัวแบบและเป็นผู้นำคนอื่น
1.2 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม – 4Cs ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
1) ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม ประกอบด้วย
1.1) การคิดสร้างสรรค์
1.2) การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
1.3) การนำเอานวัตกรรมมาสู่การปฏิบัติ
2) การคิดเชิงวิพากษ์และการแก้ไขปัญหา ประกอบด้วย
2.1) การใช้เหตุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2) การใช้วิธีคิดเชิงระบบ
2.3) ประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
2.4) การแก้ไขปัญหา
3) การสื่อสารและการมีส่วนร่วม ประกอบด้วย
3.1) การสื่อสารได้ชัดเจนมีประสิทธิภาพ
3.2) การทำงานร่วมกับผู้อื่น
4Cs
การคิดแบบมีวิจารณญาณ (Critical thinking) คือ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีเหตุผล และต้องสามารถตัดสินคุณค่าของเรื่องต่างๆ ที่คิดนั้นด้วย
การสื่อสาร (Communication) คือ ต้องมีความสามารถใช้ศัพท์ใช้ภาษา, ใช้ ICT และใช้จิตวิทยาเพื่อสื่อสารกับผู้อื่นให้ประสบความสำเร็จได้
การทำงานร่วมกัน (Collaboration) คือ มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้, การร่วมมือกับคนหลายคนที่อาจมีพื้นฐานต่างกัน ทั้งแนวคิด, ความเชื่อ, หรือความรู้ เพื่อทำงานหรือทำกิจกรรมใดๆ ให้ประสบความสำเร็จได้
การสร้างสรรค์ (Creativity) คือ มีความสามารถในการจินตนาการเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ อันจะนำไปสู่สิ่งใหม่หรือความคิดใหม่ๆ, วิธีการใหม่ๆ ที่เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)
1.3 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี 1) การรู้เท่าทันสารสนเทศ ประกอบด้วย
1.1) การเข้าถึงและการประเมินสารสนเทศ
1.2) การใช้และการจัดการสารสนเทศ
2) การรู้เท่าทันสื่อ ประกอบด้วย
2.1) ความสามารถในการวิเคราะห์สื่อ
2.2) ความสามารถในการผลิตสื่อสร้างสรรค์
3) การรู้ทันไอซีที (ICT: Information, Communication and Technology Literacy) ประกอบด้วย
3.1) ประสิทธิผลของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี
1.4 สาระวิชาหลัก – 3Rs สาระวิชาหลัก
ภาษาแม่ และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ
คณิตศาสตร์
การปกครองและหน้าที่พลเมือง
เศรษฐศาสตร์
วิทยาศาสตร์
ภูมิศาสตร์
ประวัติศาสตร์
3Rs
Reading การอ่าน
Writing การเขียน
Arithmetic คณิตศาสตร์
1.5 7Cs Critical thinking and problem solving ทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา
Creativity and innovation ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม
Cross-cultural understanding ทักษะด้านความเข้าใจต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์
Collaboration, teamwork and leadership ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
Communications, information and media literacy ทักษะด้านการสื่อสาร สารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ
Computing and ICT literacy ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
Career and learning skills ทักษะอาชีพ และทักษะการเรียนรู้
1.6 8Cs Critical Thinking and Problem Solving การคิดอย่างมีวิจารณญาณ แก้ไขปัญหาได้
Creativity and Innovation คิดอย่างสร้างสรรค์ คิดเชิงนวัตกรรม
Cross-cultural Understanding ความเข้าใจความแตกต่างทางวัฒนธรรม กระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
Collaboration teamwork and leadership ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ
Communications information and media literacy ทักษะในการสื่อสาร และการรู้เท่าทันสื่อ
Computing and ICT literacy ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ และการรู้เท่าทันเทคโนโลยี
Career and learning skills ทักษะทางอาชีพ และการเรียนรู้
Compassion มีคุณธรรม มีเมตตา กรุณา มีระเบียบวินัย ซึ่งเป็นคุณลักษณะพื้นฐานสำคัญของทักษะขั้นต้นทั้งหมด และเป็นคุณลักษณะที่เด็กไทยจำเป็นต้องมี
ปัจจัยสนับสนุนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
มาตรฐานและการวัดผล เน้นความเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากกว่าความรู้แบบผิวเผิน
การของมีส่วนร่วมของนักเรียนกับ ข้อมูลและ เครื่องมือในโลกแห่งความเป็นจริง และพวกเขาจะพบผู้เชียวชาญในวิทยาลัย หรือในที่ทำงาน
รองรับความสมดุลของการประเมินรวมทั้งมีคุณภาพสูง
เน้นข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติงานของนักเรียนที่ถูกฝังลงในการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน
การประเมินการใช้เทคโนโลยีให้มีความสมดุล ความชำนาญนักเรียนซึ่งเป็นการวัดทักษะในศตวรรษที่ 21
ช่วยให้การพัฒนาคุณภาพนักเรียนนักศึกษาที่แสดงให้เห็นการเรียนรู้ทักษะในศตวรรษที่ 21 เพื่อการศึกษาและการทำงานในอนาคต
หลักสูตรและวิธีการสอน สอนทักษะในศตวรรษที่ 21 ซึ่งแยกกัน ในบริบทของวิชาหลักและ รูปแบบสหวิทยาการในศตวรรษที่ 21
มุ่งเน้นไปที่การให้โอกาสสำหรับการใช้ทักษะในศตวรรษที่ 21 ในเนื้อหาและวิธีการตามความสามารถในการเรียนรู้
ช่วยให้วิธีการเรียนรู้นวัตกรรมที่บูรณาการการใช้เทคโนโลยีสนับสนุนแนวทางเพิ่มเติมในการใช้ปัญหาเป็นฐาน และทักษะการคิดขั้นสูง
สนับสนุนให้รวมทรัพยากรของชุมชน ภูมิปัญญาชาวบ้าน แหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียน
การพัฒนาวิชาชีพ ครูมีแนวทางการสอนมีความสามารถสำหรับการบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 เครื่องมือ และกลยุทธ์การเรียนการสอนไปสู่การปฏิบัติในชั้นเรียนของพวกเขา
การเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการทำโครงงาน
แสดงให้เห็นว่ามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องจริงสามารถเพิ่มการแก้ปัญหาการคิดเชิงวิพากษ์และอื่น ๆ ทักษะในศตวรรษที่ 21
ช่วยให้มืออาชีพในชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ สำหรับครูที่ 21 ว่ารูปแบบชนิดของการเรียนรู้ในห้องเรียนที่ดีที่สุดส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 สำหรับนักเรียน
การพัฒนา ความสามารถในการระบุตัวตนของนักเรียนโดยครูมีรูปแบบการเรียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของผู้เรียน
ช่วยให้ครูพัฒนาความสามารถในการใช้กลยุทธ์ต่างๆ (เช่นการประเมินผลการเรียนการสอน) ถึงนักเรียนที่มีความหลากหลาย และสร้างสภาพแวดล้อมที่สนับสนุนความแตกต่างการเรียนการสอน และการเรียนรู้
บรรยากาศการเรียนรู้ สร้างการเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่สนับสนุนความต้องการของมนุษย์ และสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่จะสนับสนุนการเรียนการสอน และการเรียนรู้ด้วยทักษะในศตวรรษที่ 21
สนับสนุนการเรียนรู้ชุมชนมืออาชีพที่ช่วยให้การศึกษา เพื่อการทำงานร่วมกันแบ่งปันแนวทางปฏิบัติที่ดี และบูรณาการทักษะในศตวรรษที่ 21 ในการปฏิบัติในชั้นเรียน
ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้ในงานที่เกี่ยวข้องในโลกศตวรรษที่ 21 แวดล้อมจริง
เรียนรู้การใช้เครื่องมือเทคโนโลยีและทรัพยากรอย่างมีคุณภาพ รู้จักการทำงานสำหรับการเรียนรู้เป็นกลุ่มทีมและรายบุคคล
สนับสนุนการติดต่อกับชุมชนและการมีส่วนระหว่างต่างชาติในการเรียนรู้โดยตรงและออนไลน์
การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนในศตวรรษที่ 21 อาศัยการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ทฤษฎีการเรียนรู้
แก้ไข2.1ทฤษฎีการเรียนรู้ เบนจามิน บลูมและคณะ (Bloom et al, 1956) เบญจมิน บลูม (Benjamin Bloom 1976) เป็นนักการศึกษาชาวอเมริกัน เชื่อว่า การเรียนการสอนที่จะประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนแน่นอน เพื่อให้ผู้สอนกำหนดและจัดกิจกรรมการเรียนรวมทั้งวัดประเมินผลได้ถูกต้อง และบลูมได้แบ่งประเภทของพฤติกรรมโดยอาศัยทฤษฎีการเรียนรู้และจิตวิทยาพื้นฐานว่า มนุษย์จะเกิดการเรียนรู้ใน 3 ด้านคือ ด้านสติปัญญา ด้านร่างกาย และด้านจิตใจ และนำหลักการนี้จำแนกเป็นจุดมุ่งหมายทางการศึกษาเรียกว่า Taxonomy of Educational objectives
Bloom ได้แบ่งการเรียนรู้เป็น 6 ระดับ
การประเมินค่า ( Evaluation) วัดได้ และตัดสินได้ว่าอะไรถูกหรือผิด ประกอบการตัดสินใจบนพื้นฐานของเหตุผลและเกณฑ์ที่แน่ชัด
การสังเคราะห์ ( Synthesis) สามารถนำส่วนต่างๆ มาประกอบเป็นรูปแบบใหม่ได้ให้แตกต่างจากรูปเดิม
การวิเคราะห์ ( Analysis) สามารถแก้ปัญหา ตรวจสอบได้ เน้นโครงสร้างใหม่
การประยุกต์ (Application)
ความเข้าใจ (Comprehend)
ความรู้ที่เกิดจากความจำ (knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
ในปีค.ศ. 1956 เบญจมิน บลูม และคณะ (Benjamin Bloom and other 1956) ได้พัฒนากรอบทฤษฎีที่ใช้เป็นเครื่องมือการจัดประเภทพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแสดงออกทางปัญญา และการคิดอันเป็นผลมาจากประสบการณ์การศึกษา เรียกว่า Bloom’s taxonomy ซึ่งได้จำแนกจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ออกเป็น 3 ด้าน คือ ด้านพุทธิพิสัย (cognitive domain) ด้านจิตพิสัย (affective domain) และด้านทักษะทางกาย (psychomotor domain)
1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
พฤติกรรมด้านสมองเป็นพฤติกรรมเกี่ยวกับสติปัญญา ความรู้ ความคิด ความเฉลียวฉลาดความสามารถในการคิดเรื่องราวต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นความสามารถทางสติปัญญาพฤติกรรมทางพุทธิพิสัย 6 ระดับ ได้แก่
1. ความรู้ความจำ ความสามารถในการเก็บรักษามวลประสบการณ์ต่างๆ จากการที่ได้รับรู้ไว้และระลึกสิ่งนั้นได้เมื่อต้องการเปรียบดังเทปบันทึกเสียงหรือวีดิทัศน์ ที่สามารถเก็บเสียงและภาพของเรื่องราวต่างๆได้ สามารถเปิดฟังหรือ ดูภาพเหล่านั้นได้ เมื่อต้องการ
2. ความเข้าใจเป็นความสามารถในการจับใจความสำคัญของสื่อ และสามารถแสดงออกมาในรูปของการแปลความ ตีความ คาดคะเน ขยายความ หรือ การกระทำอื่น ๆ
3. การนำความรู้ไปใช้ เป็นขั้นที่ผู้เรียนสามารถนำความรู้ ประสบการณ์ไปใช้ในกาแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ ซึ่งจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจ จึงจะสามารถนำไปใช้ได้
4. การวิเคราะห์ ผู้เรียนสามารถคิด หรือ แยกแยะเรื่องราวสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นส่วนย่อย เป็นองค์ประกอบที่สำคัญได้ และมองเห็นความสัมพันธ์ของส่วนที่เกี่ยวข้องกัน ความสามารถในการวิเคราะห์จะแตกต่างกันไปแล้วแต่ความคิดของแต่ละคน
5. การสังเคราะห์ ความสามารถในการที่ผสมผสานส่วนย่อย ๆ เข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันอย่างมีระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ที่สมบูรณ์และดีกว่าเดิม อาจเป็นการถ่ายทอดความคิดออกมาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ง่าย การกำหนดวางแผนวิธีการดำเนินงานขึ้นใหม่ หรือ อาจจะเกิดความคิดในอันที่จะสร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่เป็นนามธรรมขึ้นมาในรูปแบบ หรือ แนวคิดใหม่
6. การประเมินค่า เป็นความสามารถในการตัดสิน ตีราคา หรือ สรุปเกี่ยวกับคุณค่าของสิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปของคุณธรรมอย่างมีกฎเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งอาจเป็นไปตามเนื้อหาสาระในเรื่องนั้น ๆ หรืออาจเป็นกฎเกณฑ์ที่สังคมยอมรับก็ได้
2.ด้านจิตพิสัย (Affective Domain)
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ ด้านจิตพิสัยจะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
1.การรับรู้ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์ หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
2. การตอบสนอง เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม และพอใจต่อสิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
3. การเกิดค่านิยม การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม การยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
4. การจัดระบบ การสร้างแนวคิด จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่า
5. บุคลิกภาพ การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัว ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้ จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆจนกลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคนคนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้
3.ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
พฤติกรรมที่บ่งถึงความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างคล่องแคล่วชำนิชำนาญ ซึ่งแสดงออกมาได้โดยตรงโดยมีเวลาและคุณภาพของงานเป็นตัวชี้ระดับของทักษะ
พฤติกรรมด้านทักษะพิสัย ประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ขั้น ดังนี้
1.การรับรู้ เป็นการให้ผู้เรียนได้รับรู้หลักการปฏิบัติที่ถูกต้อง หรือ เป็นการเลือกหาตัวแบบที่สนใจ
2.กระทำตามแบบ หรือ เครื่องชี้แนะ เป็นพฤติกรรมที่ผู้เรียนพยายามฝึกตามแบบที่ตนสนใจและพยายามทำซ้ำ เพื่อที่จะให้เกิดทักษะตามแบบที่ตนสนใจให้ได้ หรือ สามารถปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
3.การหาความถูกต้อง พฤติกรรมสามารถปฏิบัติได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยเครื่องชี้แนะเมื่อได้กระทำซ้ำแล้ว ก็พยายามหาความถูกต้องในการปฏิบัติ
4.การกระทำอย่างต่อเนื่องหลังจากตัดสินใจเลือกรูปแบบที่เป็นของตัวเองจะกระทำตามรูปแบบนั้นอย่างต่อเนื่อง จนปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อนได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้อง คล่องแคล่ว การที่ผู้เรียนเกิดทักษะได้ต้องอาศัยการฝึกฝนและกระทำอย่างสม่ำเสมอ
5.การกระทำได้อย่างเป็นธรรมชาติ พฤติกรรมที่ได้จากการฝึกอย่างต่อเนื่องจนสามารถปฏิบัติได้คล่องแคล่วว่องไวโดยอัตโนมัติ เป็นไปอย่างธรรมชาติซึ่งถือเป็นความสามารถของการปฏิบัติในระดับสูง
ทฤษฎีดังกล่าวเกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนการสอนอย่างไร ?
1. พื้นฐานของผู้เรียนเป็นหัวใจของการเรียน ผู้เรียนแต่ละคนจะมีพื้นฐานที่ช่วยให้เขาประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ต่างกัน ถ้าเขามีพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจะไม่แตกต่างกัน
2. คุณลักษณะของแต่ละคน เช่น ความรู้ที่จำเป็นก่อนเรียน แรงจูงใจในการเรียน และคุณภาพของการสอนเป็นสิ่งที่ปรับปรุงได้ ให้แต่ละคนและทั้งกลุ่มมีระดับการเรียนรู้ที่สูงขึ้น
2.2 ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง (Constructionism) เซย์มัวร์ ปาเปิร์ต (Seymour Papert) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักการศึกษาที่สถาบันเอ็มไอที เขาเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกปัญญาประดิษฐ์โดยเสนอแนวคิดเรื่องความรู้ของเครื่องจักร และได้สร้างภาษาโลโกในปี 1968 ซึ่งเป็นภาษาที่เหมาะสำหรับเด็กในการฝึกหัดเขียนโปรแกรม โดยสามารถระดมสมอง ร่วมกันคิดเพื่อสร้างโปรแกรม เขายังคิดเพื่อการศึกษานั่นคือ การนำเอาแนวคิดการเรียนรู้ของ ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) มาใช้ในโรงเรียนได้อย่างไร และได้เน้นผลกระทบของเทคโนโลยีในการเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในชีวิตประจำวัน Constructionism เป็นทฤษฎีการศึกษาที่เน้นผู้เรียน เป็นผู้สร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ประสบการณ์ใหม่/ความรู้ใหม่ + ประสบการณ์เก่า/ความรู้เก่า = องค์ความรู้ใหม่
ทฤษฎี Constructionism นี้จึงเกี่ยวข้องกับการสร้าง 2 ประการ กล่าวคือ
1.เมื่อเด็กสร้างสรรค์บางสิ่งบางอย่างออกมาเท่ากับว่าเด็กได้สร้างความรู้ขึ้นมาภายในตนเองด้วย
2.ความรู้ที่เด็กได้สร้างขึ้นภายในตนเองนี้จะช่วยให้เด็กนำไปสร้างความรู้ใหม่ หรือสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ ที่ความสลับซับซ้อนกันมากขึ้น ทำให้เกิดความรู้เพิ่มพูนขึ้นตามไปด้วย
แนวคิดสำคัญของทฤษฎี Constructionism
1.เริ่มที่ผู้เรียนต้องอยากจะรู้ อยากจะเรียน จึงจะเป็นตัวเร่งให้เขาขับเคลื่อน (ownership)
2.ใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียนเป็นแรงจูงใจ (internalmotivation) ให้เกิดการสร้างสรรค์ความรู้
3.การเรียนรู้เป็นทีม (team learning) จะดีกว่าการเรียนรู้คนเดียว
4.เป็นการเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ (Learning to learn) ไม่ใช่การสอน
หลักการของทฤษฎี Constructionism
หลักการที่ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
หลักการที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
หลักการเรียนรู้จากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อม
หลักการใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ
หลักการของทฤษฎี Constructionism สรุปก็คือ เครื่องมือทุกชนิดที่สามารถทำให้ผู้เรียนสร้างงานหรือลงมือปฏิบัติด้วยตนเองได้เป็นเครื่องมือที่สอดคล้องตามหลักการทฤษฎี Constructionism
แนวการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism
ขั้นที่ 1 จุดประกายความคิด (Sparkling)
ขั้นที่ 2 สะกิดให้ค้นคว้า (Searching)
ขั้นที่ 3 นำพาสู่การปฏิบัติ (Studying )
ขั้นที่ 4 จัดองค์ความรู้ ( Summarizing)
ขั้นที่ 5 นำเสนอควบคู่การประเมิน ( Show and Sharing)
การสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองได้
1. Explore คือ การสำรวจตรวจค้น
2. Experiment คือ การทดลอง
3. Learning by doing คือ การเรียนรู้จากการกระทำ
4.Doing by learningคือ การทำเพื่อที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism
1. เชื่อมโยงสิ่งที่รู้แล้วกับสิ่งที่ผู้เรียนกำลังเรียน
2. การให้โอกาสผู้เรียนเป็นผู้ริเริ่มทำโครงการที่ตนเองสนใจ
3. เปิดโอกาสให้มีการนำเสนอความคิด ผลงาน ผลการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของ ตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อน
4. ให้เวลาทำงานอย่างต่อเนื่อง
บทบาทของครู
ในการดำเนินกิจกรรมการสอน ครูควรรู้จักบทบาทของตนเองอย่างแจ่มแจ้ง ครูนับว่าเป็นบุคคลสำคัญที่จะทำให้การสอนสำเร็จผล ดังนั้นจึงควรรู้จักบทบาทของตน ดังนี้ คือ
1. จัดบรรยากาศการเรียนรู้ให้เหมาะสม
2. แสดงความคิดเห็นและให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนตามโอกาสที่เหมาะสม
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามแนวทางของทฤษฎี Constructionism โดยเน้นให้ผู้เรียนสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
4. ช่วยเชื่อมโยงความคิดเห็นของผู้เรียน และสรุปผลการเรียนรู้
ทัศนคติ ความเชื่อของครู
1. ต้องไม่ถือว่า ครูเป็นผู้รู้แต่ผู้เดียว
2. ต้องพยายามให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด
3. ไม่ควรถือว่า “ ผู้เรียนที่ดีต้องเงียบ”
4. ไม่ควรยึดติดกับหลักสูตรมากเกินไป
5. การจัดตารางสอนควรจัดให้ยืดหยุ่น
บทบาทของผู้เรียน
1. มีความยินดีร่วมกิจกรรมทุกครั้งด้วยความสมัครใจ
2. เรียนรู้ได้เอง รู้จักแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่างๆที่มีอยู่ด้วยตนเอง
3. ตัดสินปัญหาต่างๆอย่างมีเหตุผล
4. ความรู้สึกและความคิดเป็นของตนเอง
5. วิเคราะห์พฤติกรรมของตนเองและผู้อื่นได้
6. ให้ความช่วยเหลือกันและกัน รู้จักรับผิดชอบงานที่ตนเองทำอยู่และที่ได้รับมอบหมาย
7. นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ในชีวิตจริงได้นั้น
การนำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอน
ประยุกต์ใช้บางส่วน กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้เป็นครั้งคราว โดยเลือกให้เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และเนื้อหา
ประยุกต์ใช้ในชั่วโมงปฏิบัติเต็มเวลา กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้ในชั่วโมงปฏิบัติทั้งหมดของวิชานั้น โดยครูให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติและเชื่อมโยงความรู้ให้สัมพันธ์กับทฤษฎีที่เรียน
ประยุกต์ใช้ทั้งวิชา กล่าวคือ นำทฤษฎี Constructionism มาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนทั้งวิชา ซึ่งนับว่าเป็นวิธีที่ดีหากปฏิบัติได้จริง เพราะการเปลี่ยนแปลงความคิดและทัศนคติของผู้เรียนนั้นจะต้องอาศัยระยะเวลานานพอสมควรและจะต้องทำอย่างต่อเนื่องจึงจะเห็นผล
สรุป
ทฤษฎี Constructionism จึงให้ความสำคัญกับโอกาสและวัสดุที่จะใช้ในการเรียนการสอนที่ผู้เรียนสามารถนำไปสร้างความรู้ให้เกิดขึ้นภายในตัวผู้เรียนเองได้ ไม่ใช่มุ่งการสอนที่เป็นการป้อนความรู้ให้กับผู้เรียน แต่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้จากการลงมือทำผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ดำเนินกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองมีทางเลือกที่มากขึ้นโดยการลงมือปฏิบัติหรือสร้างงานที่ตนเองสนใจ และสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาเองโดยการผสมผสานระหว่างความรู้เดิมกับความรู้ใหม่
2.3 ทฤษฎีพหุปัญญา (Theory of Multiple Intelligences) ศาสตราจารย์โฮวาร์ด การ์ดเนอร์ (Howard Gardner) นักจิตวิทยา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด เป็นผู้หนึ่งที่พยายามอธิบายให้เห็นถึงความสามารถที่หลากหลาย โดยคิดเป็น “ ทฤษฎีพหุปัญญา ” (Theory of Multiple Intelligences) เสนอแนวคิดว่า สติปัญญาของมนุษย์มีหลายด้านที่มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ขึ้นอยู่กับว่าใครจะโดดเด่นในด้านไหนบ้าง แล้วแต่ละด้านผสมผสานกัน แสดงออกมาเป็นความสามารถในเรื่องใด เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละคนไป
ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์ ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8 ด้าน ดังนี้
1. ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence) คือ ความสามารถในการใช้ภาษารูปแบบต่างๆ ตั้งแต่ภาษาพื้นเมือง จนถึงภาษาอื่นๆ ด้วย สามารถรับรู้ เข้าใจภาษา และสามารถสื่อภาษาให้ผู้อื่นเข้าใจได้ตามที่ต้องการ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น กวี นักเขียน นักพูด นักหนังสือพิมพ์ ครู ทนายความ หรือนักการเมือง
2. ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical Intelligence) คือ ความสามารถในการคิดแบบมีเหตุและผล การคิดเชิงนามธรรม การคิดคาดการณ์ และการคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ ผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น ก็มักเป็น นักบัญชี นักสถิติ นักคณิตศาสตร์ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ นักเขียนโปรแกรม หรือวิศวกร
3. ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence) คือ ความสามารถในการรับรู้ทางสายตาได้ดี สามารถมองเห็นพื้นที่ รูปทรง ระยะทาง และตำแหน่ง อย่างสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน แล้วถ่ายทอดแสดงออกอย่างกลมกลืน มีความไวต่อการรับรู้ในเรื่องทิศทาง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น จะมีทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์
สายวิทย์ ก็มักเป็น นักประดิษฐ์ วิศวกร ส่วนสายศิลป์ ก็มักเป็นศิลปินในแขนงต่างๆ เช่น จิตรกร วาดรูป ระบายสี เขียนการ์ตูน นักปั้น นักออกแบบ ช่างภาพ หรือสถาปนิก เป็นต้น
4. ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence) คือ ความสามารถในการควบคุมและแสดงออกซึ่งความคิด ความรู้สึก โดยใช้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงความสามารถในการใช้มือประดิษฐ์ ความคล่องแคล่ว ความแข็งแรง ความรวดเร็ว ความยืดหยุ่น ความประณีต และความไวทางประสาทสัมผัส สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักกีฬา หรือไม่ก็ศิลปินในแขนง นักแสดง นักฟ้อน นักเต้น นักบัลเล่ย์ หรือนักแสดงกายกรรม
5. ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence) คือ ความสามารถในการซึมซับ และเข้าถึงสุนทรียะทางดนตรี ทั้งการได้ยิน การรับรู้ การจดจำ และการแต่งเพลง สามารถจดจำจังหวะ ทำนอง และโครงสร้างทางดนตรีได้ดี และถ่ายทอดออกมาโดยการฮัมเพลง เคาะจังหวะ เล่นดนตรี และร้องเพลง สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักดนตรี นักประพันธ์เพลง หรือนักร้อง
6. ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการเข้าใจผู้อื่น ทั้งด้านความรู้สึกนึกคิด อารมณ์ และเจตนาที่ซ่อนเร้นอยู่ภายใน มีความไวในการสังเกต สีหน้า ท่าทาง น้ำเสียง สามารถตอบสนองได้อย่างเหมาะสม สร้างมิตรภาพได้ง่าย เจรจาต่อรอง ลดความขัดแย้ง สามารถจูงใจผู้อื่นได้ดี เป็นปัญญาด้านที่จำเป็นต้องมีอยู่ในทุกคน แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นครูบาอาจารย์ ผู้ให้คำปรึกษา นักการฑูต เซลแมน พนักงานขายตรง พนักงานต้อนรับ ประชาสัมพันธ์ นักการเมือง หรือนักธุรกิจ
7. ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก ตระหนักรู้ในตนเอง สามารถเท่าทันตนเอง ควบคุมการแสดงออกอย่างเหมาะสมตามกาลเทศะ และสถานการณ์ รู้ว่าเมื่อไหร่ควรเผชิญหน้า เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อไหร่ต้องขอความช่วยเหลือ มองภาพตนเองตามความเป็นจริง รู้ถึงจุดอ่อน หรือข้อบกพร่องของตนเอง ในขณะเดียวกันก็รู้ว่าตนมีจุดแข็ง หรือความสามารถในเรื่องใด
8. ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence) คือ ความสามารถในการรู้จัก และเข้าใจธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง เข้าใจกฎเกณฑ์ ปรากฏการณ์ และการรังสรรค์ต่างๆ ของธรรมชาติ มีความไวในการสังเกต เพื่อคาดการณ์ความเป็นไปของธรรมชาติ มีความสามารถในการจัดจำแนก แยกแยะประเภทของสิ่งมีชีวิต ทั้งพืชและสัตว์ สำหรับผู้ที่มีปัญญาด้านนี้โดดเด่น มักจะเป็นนักธรณีวิทยา นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย หรือนักสำรวจธรรมชาติ
2.4 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดค์ Connectionism คิดค้นโดยธอร์นไดค์ (Thorndike) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ผู้ได้รับยกย่องให้เป็นบิดาแห่งจิตวิทยาการศึกษา หลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้ คือ การเรียนรู้เกิดจากการสร้างความสัมพันธ์บางอย่างระหว่างสิ่งเร้า (Stimulus)กับพฤติกรรมการตอบสนอง (Response) ในระยะเวลาพอควร หมายถึง เมื่อมีสถานการณ์ หรือสิ่งที่เป็นปัญหาเกิดขึ้น ร่างกายจะเกิดความพยายามที่จะแก้ปัญหานั้นโดยแสดงพฤติกรรมตอบสนองออกมาหลายๆรูปแบบในลักษณะแบบลองผิดลองถูก (Trial and Error)จนกว่าจะพบวิธีที่ดีและเหมาะสมที่สุดในการแก้ปัญหา
ในการทดลอง ธอร์นไดค์ได้นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้นแล้วนำปลาไปวางล่อไว้นอกกรงให้ห่างพอประมาณ โดยให้แมวไม่สามารถยื่นเท้าไปเขี่ยได้ จากการสังเกต พบว่าแมวพยายามใช้วิธีการต่างๆ เพื่อจะออกไปจากกรง จนกระทั่งเท้าของมันไปเหยียบถูกคานไม้โดยบังเอิญ ทำให้ประตูเปิดออก หลังจาก นั้นแมวก็ใช้เวลาในการเปิดกรงได้เร็วขึ้น
จากการศึกษาของธอร์นไดค์ทำให้เกิดกฎการเรียนรู้
1. กฎแห่งความพร้อม (Law of readiness) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี ถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจ
2. กฎแห่งการฝึกหัด (Law of exercise) การฝึกหัดหรือกระทำบ่อยๆด้วยความเข้าใจจะทำให้การเรียนรู้นั้นคงถาวรถ้าไม่ได้กระทำซ้ำบ่อยๆการเรียนรู้นั้นจะไม่คงถาวรและถาวรและในที่สุดอาจจะลืมได้
3. กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of effect) เมื่อบุคคลได้รับผลพึงพอใจย่อมอยากจะเรียนรู้ต่อไป แต่ถ้าได้รับผลที่ไม่พึงพอใจจะไม่พึงพอใจจะไม่อยากเรียนรู้ ดังนั้น การได้รับผลที่พึงพอใจจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้
การประยุกต์ทฤษฎีของธอร์นไดค์ไปสู่การเรียนการสอน
1. ครูควรจัดให้ผู้เรียนได้มีโอกาสฝึกฝนและทบทวนในสิ่งที่เรียนไปแล้วในเวลาอันเหมาะสม
2. ธอร์นไดค์ได้ให้ความสนใจในปัญหาการปรับปรุงการเรียนการสอนของนักเรียนในโรงเรียนเขาเน้นว่านักเรียนต้องให้ความสนใจในสิ่งที่เรียนความสนใจจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อครูจัดเนื้อหาที่ผู้เรียนมองเห็นว่ามีความสำคัญต่อตัวเขา
3. ครูควรจัดให้ผู้เรียนได้รับความพึงพอใจและประสบผลสำเร็จในการทำกิจกรรมเพื่อเป็นแรงจูงใจต่อตัวเองในการทำกิจกรรมต่อไป
4. ครูควรจะสอนเด็กเมื่อเด็กมีความพร้อมที่จะเรียนผู้เรียนต้องมีวุฒิภาวะเพียงพอที่จะเรียนและไม่ตกอยู่ในสภาวะบางอย่าง เช่น เหนื่อย ง่วงนอน เป็นต้น
2.5 ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ Theory of Cooperative or Collaborative Learning เป็นการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอีกรูปแบบหนึ่ง คือ
1. ร่วมสร้าง สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
2. ร่วมมือ แก้ไขปัญหาระหว่างกัน
3. ร่วมใจ สามัคคี รักใคร่ ปรองดอง
ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำกิจกรรมต่างๆเป็นกลุ่ม โดยกลุ่มนั้นต้องประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกันเพื่อให้แต่ละคนเห็นความสำคัญของเพื่อนนักเรียน ในกลุ่มซึ่งจะขาดไม่ได้ เพราะแต่ละคนมีความสามารถไม่เหมือนกันจึงต้องอาศัยซึ่งกันและกันในการเรียนรู้ คนที่เก่งจะช่วยเหลือคนที่เรียนอ่อนกว่าในด้านวิชาการ แต่คนที่เรียนอ่อนในด้านวิชาการอาจเก่งด้านการพูด หรือด้านการช่วยเหลือและให้กำลังใจต่อกัน นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความเห็นใจกัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีความผูกพันกันโดยยึดหลักความสำเร็จของกลุ่ม คือความสำเร็จของสมาชิกทุกคนในกลุ่ม
หลักการสำคัญ 5 ประการ
1. การเรียนรู้ต้องอาศัยหลักการพึ่งพากัน (Positive Interdependence)
2. การเรียนรู้ที่ดีต้องอาศัยการหันหน้าเข้าหากัน มีปฏิสัมพันธ์กัน (Face to Face Interaction)
3. การเรียนรู้ร่วมกันต้องอาศัยทักษะทางสังคม (Social Skills)
4. การเรียนรู้ร่วมกันควรมีการวิเคราะห์กระบวนการของกลุ่ม ( Group Processing)
5. การเรียนรู้ร่วมกันจะต้องมีผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทั้งรายบุคคล และรายกลุ่มที่สามารถตรวจสอบและวัดประเมินได้ (Individual Accountability)
วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1. เพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เนื้อหาสาระต่างๆ ด้วยตนเองและสามารถพัฒนาได้ตามศักยภาพของตนเอง
2. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน รวมทั้งผู้เรียนและผู้เรียนด้วยกัน
3. เพื่อเกิดการร่วมมือและความช่วยเหลือระหว่างเพื่อนด้วยกันในกลุ่ม
4. เพื่อเกิดการพัฒนาทักษะทางสังคมต่างๆ
องค์ประกอบของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1. การพึ่งพาและช่วยเหลือกัน (Positive Interdependence)
2. การปรึกษาหารือกันอย่างใกล้ชิด (Face –to-face Promotion Interaction)
3. ความรับผิดชอบของแต่ละคนที่สามารถตรวจสอบได้ (Individual Accountability)
4. การใช้ทักษะปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interpersonal and Small-group Skills)
5. การใช้กระบวนการกลุ่ม (Group Processing)
ขั้นตอนของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1. ขั้นเตรียม
2. ขั้นสอน
3. ขั้นทำกิจกรรมกลุ่ม
4. ขั้นตรวจสอบผลงานและทดสอบ
5. ขั้นสรุปบทเรียนและประเมินผลการทำงานกลุ่ม
ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1. เป้าหมายของกลุ่ม (Group Goals)
2. การรับผิดชอบเป็นรายบุคคล (Individual Accountability)
3. โอกาสในความสำเร็จเท่าเทียมกัน (Equal Opportunities for Success)
4. การแข่งขันเป็นทีม (Team Competition)
5. งานพิเศษ (Task Specialization)
6. ดัดแปลงความต้องการของแต่ละบุคคลให้เหมาะสม (Adaptation to Individual)
เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ
1. เทคนิคการต่อเรื่องราว (Jigsaw) เป็นเทคนิคที่ใช้ในการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีการร่วมมือระหว่างสมาชิกในกลุ่มและมีการถ่ายทอดความรู้กันระหว่างกลุ่ม
2. เทคนิคการจัดทีมแข่งขัน (TGT : Team Games Tournament)
3. เทคนิคแบ่งปันความสำเร็จ (STAD : Student Teams Achievement Division)
4. เทคนิคกลุ่มสืบค้น (GI : Group Investigation)
5. เทคนิคคู่คิด (Think Pair Share)
6. เทคนิคเพื่อนคู่คิด 4 สหาย (Think Pair Square)
7. เทคนิคคู่ตรวจสอบ (Pairs Check)
8. เทคนิคการสัมภาษณ์ 3 ขั้นตอน (Three-Step Interview
9. เทคนิคร่วมกันคิด (Numbered Heads Together)
10. เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง (Round Robin)
รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning)
Johnson, Johnson and Stann (2000) กล่าวว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง มีทั้งหมด 8 รูปแบบ ได้แก่
1. รูปแบบแอลที (LT) หรือ Learning Together มีรายละเอียดดังนี้
1.1 จัดผู้เรียนคละความสามารถ เก่ง ปานกลาง อ่อนเรียกว่า "กลุ่มบ้าน"
1.2 ศึกษาเนื้อหาร่วมกัน โดยกำหนดให้แต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ เช่น อ่านคำสั่ง หาคำตอบ ตรวจคำตอบ เป็นต้น
1.3 กลุ่มสรุปคำตอบร่วมกันและส่งคำตอบนั้นเป็นผลงานกลุ่ม
1.4 ผลงานกลุ่มได้คะแนนเท่าไร แต่ละคนจะได้คะแนนตามผลงานกลุ่ม
2. รูปแบบเอ.ซี. (AC) หรือ Academic Controversy มีรายละเอียดดังนี้
2.1 ครูหาประเด็นตามเนื้อหาในรายวิชาที่เป็นข้อโต้แย้งเรือหาข้อยุติที่ชัดเจนไม่ได้รวมทั้งจะช่วยสร้างมุมมองที่แตกต่างเป็นเรื่องที่น่าสนใจแต่ก็ไม่สร้างความขัดแย้งหรืออารมณ์รุนแรงเกินไป
2.2 เขียนเรื่องขึ้นเป็นกรณีศึกษาพิมพ์สำเนาลงกระดาษต่างสีพร้อมคำสั่งหรือแนวทางในการดำเนินการ เพื่อแจกให้นักเรียนซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สี สมมติว่า สีเขียว (กำหนดให้สีเขียวมีจุดยืนหนึ่งตามในกรณีศึกษา) กับ สีน้ำเงิน ซึ่งกำหนดให้มีจุดยืนตรงกันข้าม
2.3 แบ่งนักเรียนออกเป็น 2 สีเท่าๆกันแจกเอกสารกรณีศึกษาและบอกให้นักเรียนแต่ละคนอ่านเรื่องและกำหนดความเห็นของตนเอง
2.4 ให้นักเรียนจัดกลุ่มกลุ่มละ 4 คนแต่ละกลุ่มมีสีเขียว 2 คนสีน้ำเงิน 2 คน
2.5 ให้นักเรียนในแต่ละกลุ่มจับคู่สีเดียวกันระดมความคิด การเพื่อหาข้อสนับสนุนจุดยืนตามที่ได้รับมอบตามสีใช้เวลา 2-3 นาที
2.6 ให้นักเรียนแยกกลุ่มเดินไปหาเพื่อนสีเดียวกันในห้องเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นกันโดยมีเป้าหมายรวบรวมข้อคิดเห็นสำหรับสนับสนุนจุดยืนตามสีของตน
2.7 นักเรียนกลับมารวมกลุ่ม 4 คนอย่างเดิม
2.8 ให้คู่สีเขียวนำเสนอจุดยืนของตนคู่สีน้ำเงินฟังโดยไม่พูดอะไร
2.9 ให้คู่น้ำเงินซักถามเพื่อความกระจ่างแล้วให้คู่น้ำเงินนำเสนอคู่เขียวฟังหลังจากนั้นคู่เขียวซักถาม
2.10 ให้เปลี่ยนข้างจุดยืนโดยมีเวลาเตรียมคิดสักครู่แล้วอภิปรายโต้แย้งกัน
2.11 หลังจากนั้นให้ทีม 4 คนอภิปรายหาข้อยุติหรือฉันทามติใน 4 คน
2.12 จัดให้อภิปรายร่วมกันในชั้นโดยให้สี่คนที่เลือกข้างความเห็นสีเขียวยกมือและให้ทีมที่เลือกสีน้ำเงินยกมือให้นักเรียนที่เปลี่ยนความเห็นอธิบายว่าทำไมตนจึงเปลี่ยนใจ
3. รูปแบบเอส.ที.เอ.ดี (STAD) หรือ Student-Team-Achievement- Divisions มีรายละเอียดดังนี้
3.1 จัดผู้เรียนคละความสามารถ เก่ง ปานกลาง อ่อนกลุ่มละ 4 คน เรียกว่า ”กลุ่มบ้าน”
3.2 สมาชิกในกลุ่มร่วมกันศึกษาใบความรู้ ใบงาน จนเกิดความเข้าใจ โดยผู้เรียนต้องทำแบบทดสอบย่อยๆ ในแต่ละเรื่อง เก็บคะแนนของตนเองไว้
3.3 นักเรียนแต่ละคนแยกกันทำแบบทดสอบ เพื่อหาคะแนนพัฒนาการของแต่ละคน จากการนำคะแนนทดสอบครั้งสุดท้าย ลบ ค่าเฉลี่ยของคะแนนย่อย
3.4 นำคะแนนพัฒนาการของทุกคนมารวมเป็นคะแนนกลุ่ม
4. รูปแบบที.จี.ที (TGT) หรือ Team-Games-Tournaments มีรายละเอียดดังนี้
4.1 จัดผู้เรียนคละความสามารถ เก่ง ปานกลาง อ่อน เรียกว่า "กลุ่มบ้าน"
4.2 สมาชิกในกลุ่มบ้านศึกษาเนื้อหาสาระร่วมกัน
4.3 สมาชิกในกลุ่มบ้านแยกย้ายกันไปแข่งขันกับกลุ่มอื่นตามความสามารถ
4.4 สมาชิกกลุ่มแข่งขัน ทำการแข่งขันโดยตอบคำถามภายในกลุ่มแข่งขัน เพื่อให้ได้คะแนน
4.5 เมื่อแข่งขันเสร็จนำคะแนนของตนเองกับไปรวมกับคะแนนของสมาชิกในกลุ่มบ้านกลุ่มใดได้คะแนนสูงสุดจะได้รับรางวัล
5. รูปแบบจี.ไอ (GI) หรือ Group Investigation มีรายละเอียดดังนี้
5.1 จัดผู้เรียนคละความสามารถ เก่ง ปานกลาง อ่อนเรียกว่า "กลุ่มบ้าน"
5.2 แบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ แล้วแบ่งกันไปหาคำตอบ
5.3 สมาชิกแต่ละคนนำคำตอบที่ได้มาร่วมอภิปรายเป็นคำตอบของกลุ่ม
6. รูปแบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw) มีรายละเอียดดังนี้
6.1 จัดผู้เรียนคละความสามารถ เก่ง ปานกลาง อ่อนกลุ่มละ 4 คน เรียกว่า “กลุ่มบ้าน”
6.2 สมาชิกในกลุ่มบ้านศึกษาใบงานคนละเรื่อง
6.3 สมาชิกในกลุ่มบ้านแต่ละกลุ่มแยกไปรวมกับสมาชิกของกลุ่มอื่นที่ได้ศึกษาเนื้อหาเดียวกัน เรียกว่า “กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ”
6.4 กลุ่มผู้เชี่ยวชาญร่วมกันศึกษาให้เกิดความรู้ แล้วนำความรู้ที่ได้กลับไปเผยแพร่ที่กลุ่มบ้านของตนเอง
6.5 ผู้เรียนทุกคนทำแบบทดสอบ นำคะแนนของแต่ละคนมาหาค่าเฉลี่ยของกลุ่ม
7. รูปแบบที.เอ.ไอ (TAI) หรือ Teams-Assisted-Individualization มีรายละเอียดดังนี้
7.1 จัดผู้เรียนคละความสามารถ เก่ง ปานกลาง อ่อน เรียกว่า "กลุ่มบ้าน"
7.2 สมาชิกในกลุ่มรับเนื้อหาสาระ เรียนรู้ร่วมกัน
7.3 สมาชิกในกลุ่มจับคู่กันทำแบบฝึกหัด
• ถ้าใครทำได้ 75 % ขึ้นไปให้ไปรับการทดสอบรวบยอดครั้งสุดท้าย
• ถ้าใครทำไม่ถึง 75% ให้ทำแบบฝึกหัด ซ่อมจนผ่านแล้วจึงรับการทดสอบ
7.4 นำคะแนนทดสอบรวบยอดของแต่ละคนมารวมกัน กลุ่มใดได้คะแนนสูงสุดจะได้รับรางวัล
8. รูปแบบซี.ไอ.อาร์.ซี (CIRC) หรือ Cooperative Intergrated Reading and Composition เป็นการเรียนการสอนแบบร่วมมือที่ใช้ในการสอนอ่านและเขียนโดยเฉพาะประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการอ่านแบบเรียน การสอนการอ่านเพื่อความเข้าใจ และการบูรณาการภาษากับการอ่าน โดยมีขั้นตอนดังนี้
8.1 แบ่งกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถในการอ่าน นักเรียนในแต่ละกลุ่มจับคู่ 2 คนหรือ 3 คนทำกิจกรรมการอ่านแบบเรียนร่วมกัน
8.2 ครูจัดทีมใหม่โดยให้คละความสามารถ ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น เขียนรายงาน ทำแบบฝึกหัด และแบบทดสอบต่างๆและมีการให้คะแนนแล้วให้รางวัลเป็นทีม
8.3 ครูให้ความรู้เกี่ยวกับการอ่านวันละ 20 นาที แล้วให้ผู้เรียนทำกิจกรรมต่างๆ เช่นอ่านเรื่องในใจแล้วจับคู่อ่านออกเสียงให้เพื่อนฟังและช่วยกันแก้จุดบกพร่อง
8.4 หลังจากกิจกรรมการอ่านครูนำอภิปรายเรื่องที่อ่านเช่นจับประเด็นปัญหา
8.5 นักเรียนรับการทดสอบการอ่านเพื่อความเข้าใจนักเรียนจะได้รับคะแนนเป็นทั้งรายบุคคลและทีม 8.6 นักเรียนจะได้รับการสอนฝึกทักษะการอ่านสัปดาห์ละ 1 วัน
8.7 นักเรียนจะได้รับชุดการเรียนการสอนแบบเขียน ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อการเขียนได้ตามความสนใจ นักเรียนช่วยกันตรวจสอบความถูกต้อง แล้วตีพิมพ์ผลงานออกมา
8.8 นักเรียนจะได้รับการบ้านให้เลือกอ่านหนังสือที่สนใจแล้วเขียนรายงานเรื่องที่อ่านเป็นรายบุคคลโดยให้ผู้ปกครองช่วยตรวจสอบพฤติกรรมการอ่าน ของนักเรียน
3. ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
แก้ไขบทที่ 1 โฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียงของโลก เจ้าของทฤษฎีพหุปัญญาอันโด่งดัง ได้นำ เสนอจิตลักษณะที่สำคัญ สำหรับอนาคต ว่าประกอบด้วยจิตลักษณะ 5 ประการที่สำคัญคือ จิตเชี่ยวชาญ (Disciplined mind) การ์ดเนอร์เสนอว่าบุคคลจะรักษาความเชี่ยวชาญต่อไปได้ก็ต่อเมื่อบุคคลมีวินัย ความ เชี่ยวชาญในทรรศนะของการ์ดเนอร์คือ ความเชี่ยวชาญแบบสหวิทยาการไม่ใช่ความเชี่ยวชาญเพียงบางด้านอีกต่อไป อย่างไรก็ตามข้อบกพร่อง ของจิตลักษณะแบบนี้คือ การไม่ไฝ่เรียนรู้อีก หรือการรู้แบบเป็ด (รู้ทุกอย่างแต่ไม่ลุ่มลึก) ซึ่งสามารถแก้ไขได้เพราะความทันสมัยของวิทยาการ และเทคโนโลยีจะทำให้บุคคลที่เรียนรู้มีความ เชี่ยวชาญหลายสาขาภายในเวลาที่รวดเร็วขึ้นกว่าในอดีตหลายเท่า จิตลักษณะประการที่ 2 คือ จิตสังเคราะห์ (Synthesizing mind) ในทรรศนะ ของการ์ดเนอร์มองว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ เป็นความสามารถของบุคคลในการสำรวจ ข้อมูลที่มีอยู่อย่างหลากหลาย รู้ว่าอะไรมีคุณค่า สามารถนำข้อมูลมาผสมผสานได้อย่างมีเหตุผล สำหรับตนเองและผู้อื่น จิตลักษณะประการที่ 3 คือ จิตสร้างสรรค์ (Creating mind) หมายถึงการที่บุคคลมีความคิดใหม่ๆ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์ สามารถตรวจสอบสิ่งต่างๆ ว่าเข้าท่าหรือไม่ ครุ่นคิดและหาแนวทางใหม่ๆ กระหายที่จะเสี่ยง หรือเผชิญกับสิ่งที่ตนเองไม่รู้จัก กล้าที่จะล้มหรือ พ่ายแพ้และยิ้มสู้อีกครั้ง จิตลักษณะประการที่ 4 คือ จิตเคารพ (Respectful mind) หมายถึงเจตคติ ความสามารถในการเปิดใจรับบุคคล กลุ่มคน ที่มีความแตกต่าง หลากหลาย เพื่อทำความรู้จัก เป็นผู้ที่มีความเป็นสากล ไม่ด่วนตัดสินใคร ปราศจากความลำเอียง อคติ ในเรื่องเชื้อชาติ เพศ อำนาจ ฐานะและมีขันติธรรม และจิตลักษณะประการที่ 5 คือ จิตรู้จริยธรรม (Ethical mind) การนึกถึงตนเองในบริบทสากล มีจุดยืน ทางจริยธรรม มีความกล้า จิตใจที่ก้าวหน้า (กล้าเปิดโปงอย่างมีจริยธรรม) ทำหน้าที่ของตนได้อย่าง สมบูรณ์มีจริยธรรม การ์ดเนอร์มองว่า จิตลักษณะ 3 ประการแรกถือเป็นจิตลักษณะแห่งปัญญาการรู้คิด ส่วนจิตลักษณะ 2 ประการหลังนั้นเป็นจิตแห่งความเป็นมนุษย์ อย่างไรก็ตามการพัฒนาจิต ลักษณะทั้ง 5 ประการนั้นไม่ได้มีแนวคิดตายตัว ว่าจะต้องเริ่มพัฒนาอะไรก่อน
บทที่ 2 ลินดา ดาร์ลิง แฮมมอนด์ ศาสตราจารย์ด้านการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ได้นำเสนอแนวนโยบาย ใหม่ที่ตอบสนองต่อความต้องการในศตวรรษที่ 21 ว่า เทคโนโลยีต่างๆ ในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลง (แบบขนานใหญ่) ในทุกๆ 2 ปี จึงมีความจำเป็น ที่นักเรียนในศตวรรษที่ 21 จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในศาสตร์ต่างๆ อย่างลึกซึ้ง สามารถที่จะออกแบบการเรียนรู้ ประเมินจัดการงานตัวเอง ได้ด้วยตัวเอง ทั้งนี้เนื่องจากนักเรียนและผู้คน ในโลกอนาคตจะมีการใช้ชีวิตที่ซับซ้อนมากขึ้น นโยบายทางด้านการศึกษาจำเป็นที่จะต้องนำเอา ทักษะการคิดระดับสูงลงไปในกิจกรรมการเรียน การสอน โดยพบว่าประเทศที่ประสบความสำเร็จ ทางด้านการจัดการศึกษาในระดับแนวหน้าจะลดหัวข้อในการสอนลง แต่เน้นการสอนให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น ผู้บริหารโรงเรียนควรคำนึงถึงเป้าหมายที่จะเกิดขึ้นในนักเรียนมากกว่ารายได้ของโรงเรียน อย่างที่เป็นกันอยู่ ครูที่ไม่สามารถปรับตัว หรือมีการสอนที่ย่ำแย่ผู้บริหารจะต้องหางานอื่นให้ทำ ที่ ไม่ใช่เป็นการสอน นอกจากนี้การจัดวางทรัพยากรทางการศึกษาในสถานศึกษาต้องมีความเท่าเทียมกันมากขึ้น
บทที่ 3 ศาสตราจารย์คริส ดีดี้ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านเทคโนโลยีการเรียนรู้จากวิทยาลัยบัณฑิต ศึกษาศาสตร์แห่งฮาร์เวิร์ด ได้นำเสนอการเปรียบเทียบกรอบแนวคิดสำหรับทักษะแห่ง ศตวรรษที่ 21 โดยให้แนวคิดที่สำคัญว่า งานในโลกอนาคตจะเป็นงานที่เน้นการทำงานที่ใช้ความคิด และการสื่อสารที่ซับซ้อนที่คอมพิวเตอร์ทำไม่ได้ การสอนในศตวรรษที่ 21 จึงจำเป็นที่จะต้องเน้น เรื่องปฏิสัมพันธ์ การสอนมุมมองที่ไม่คุ้นเคยใหม่ๆ ให้กับนักเรียน การสื่อสารผ่านสื่อกลาง ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ การทำงานผ่านโลก เสมือนจริง ทั้งนี้การทดสอบและการประเมินผู้เรียน จะเน้นการประเมินความสามารถในการตัดสินใจ อย่างเชียวชาญ ศักยภาพในการถ่ายทอดความรู้ ของผู้เรียน ประเมินความเข้าใจไปสู่สถานการณ์จริง เนื้อหาความรู้ที่จำ เป็นในศตวรรษหน้าได้แก่ จิตสำนึกต่อโลก ความรู้ทางด้านการเงิน เศรษฐกิจ การดำ เนินธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการ ความรู้ทาง ด้านพลเมือง ความรู้ความตระหนักในสุขภาพ และสวัสดิภาพของตน ทักษะการเรียน ทักษะการคิด เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนทักษะชีวิต โดยมุ่งเน้นให้นักเรียนได้เกิดการพัฒนาไปสู่ความเป็น ผู้เชี่ยวชาญ มืออาชีพ
บทที่ 4 ริชาร์ด ดูโฟร์และรีเบ็กคา ดูโฟร์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมและโรงเรียน ประถมในมลรัฐอิลลินอยส์ ที่มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในระดับประเทศ โรงเรียนที่ทั้งสอง บริหารได้รับการประกาศจากกระทรวงศึกษาธิการ ของสหรัฐว่าเป็นโรงเรียนยุคใหม่ที่แท้จริง คุณครูทั้ง สองได้นำเสนอบทบาทของชุมชนการเรียนรู้ทาง วิชาชีพต่อความก้าวหน้าของทักษะในศตวรรษที่ 21 ว่าโรงเรียนที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้อง มีการใช้ประโยชน์จากสหวิชาชีพในชุมชนร่วมไปกับกระบวนการเรียนรู้ ทั้งสองอธิบายว่าการสอน โดยไม่มีการเรียนรู้เกิดขึ้น ไม่เรียกว่าเป็นการสอน ครูผู้สอนจะต้องทำงานร่วมกันในการพัฒนาการ เรียนการสอนนักเรียนไม่ใช่ฉายเดี่ยว โรงเรียนจะต้องสามารถเข้าถึงคลังข้อมูลการประเมินระดับชาติ ตัวอย่างการประเมิน ข้อสอบ แบบวัดทักษะที่มีอยู่นับร้อยชนิด พร้อมตัวชี้วัดต่างๆ
บทที่ 5 โรบิน โฟการ์ตี้ และไบรอัน เอ็มพีท สองนักการศึกษาจากบริษัทเอกชนที่มีชื่อเสียง ได้นำ เสนอวิสัยทัศน์ทางการศึกษาของประเทศ สิงคโปร์ (สอนให้น้อยลง เรียนรู้ให้มากขึ้น) การส่งเสริมให้โรงเรียนที่มีแต่ผู้เรียน ให้กลายร่างมาเป็นโรงเรียนที่มีแต่นักคิด โดยอาศัยประโยชน์จากคลังความรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลายและสามารถ เข้าถึงได้ง่าย การสอนให้น้อยลงไม่ได้หมายความว่า ครูจะต้องสอนน้อย ชั่วโมงสอนลดลง ลดความรู้ พื้นฐานลง แต่การสอนให้น้อยลงหมายถึงวิธีการสอน เทคนิคในการสอน การจัดการห้องเรียน การใช้ทรัพยากร สอนให้น้อยลงจึงหมายถึง ใช้วิธีการสอนหลากหลาย ลึกซึ้ง เน้นปฏิสัมพันธ์และ การลงมือปฏิบัติ เน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้แบบประสม (Multimodel Learning) การสอนแบบนี้อาศัยประโยชน์จากคุณลักษณะของ นักเรียนในปัจจุบัน ซึ่งใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางทักษะ แห่งอนาคตอยู่แล้ว นักเรียนเหล่านี้ปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่ๆ ได้ง่าย
บทที่ 6 บ้อบ เพิร์ลแมน ครูผู้เชี่ยวชาญ เรื่องการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาโรงเรียน แบบใหม่ที่มีชื่อเสียงในระดับแถวหน้า ได้นำเสนอ การออกแบบสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้แบบใหม่เพื่อสนับสนุนทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดย ให้แนวคิดที่สำคัญว่า การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้า นักเรียนมีส่วนร่วม เด็กยุคใหม่ใส่ใจและสนใจใน เรื่องของเทคโนโลยีแต่ในโรงเรียนกลับพบเจอแต่วิธีการสอนที่เก่าแก่โบราณ การสอนแบบโครงงาน ใน 1-3 สัปดาห์เป็นตัวอย่างของวิธีการสอนที่น่าสนใจ นอกจากนี้การประเมินที่มีประสิทธิผลนั้น นักเรียนจะต้องสามารถประเมินตนเองได้ทุกวัน เพิร์ลแมนได้นำเสนอแนวคิดของศูนย์วิจัยรูบิด้า (Rubida) ที่แบ่งการสอนออกเป็น 5 มิติ คือ มิติการถ่ายทอด มิติการประยุกต์ใช้ มิติการสร้างสรรค์ มิติการสื่อสาร และมิติการตัดสินใจ การออกแบบ ห้องเรียนให้เป็นผนังกระจก ที่ผู้คนสามารถ มองเห็นได้ว่าเด็กนักเรียนกำลังทำ กิจกรรมอะไร ส่วนครูผู้สอนนั้น แนวคิดจากโรงเรียนมัธยม New Tech High นำเสนอว่าโรงเรียนยุคใหม่จะไม่มีครู ไม่มีนักเรียน มีแต่ผู้เรียนรู้และผู้ประสานการเรียนรู้ (Facilitator) คอยช่วยเหลือผู้เรียนรู้ในเรื่องต่างๆ
บทที่ 7 เจย์ แม็คไท และเอลเลียต ซีฟ สองนักการศึกษาที่มีผลงานการเขียนหนังสือ บทความทางการศึกษามากมาย ได้นำเสนอ กรอบความคิดในการนำไปปฏิบัติเพื่อสนับสนุน ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ว่า ความรู้ ทักษะความเชี่ยวชาญ เพื่อการทำงานและการดำรงชีวิต เป็นพื้นฐานโครงสร้างสำหรับการออกแบบการเรียนการสอน การใช้องค์ความรู้ทางด้านจิตวิทยา ปัญญาการรู้คิด (Cognitive Psychology) จิตประสาท (Neuroscience) กิจกรรมการเรียนรู้ จะต้องส่งเสริมกระบวนการคิดที่ซับซ้อนและการประเมินผลก็จะต้องเน้นกระบวนการคิด และประเมินผลลัฑธ์ที่มีคุณค่าด้วยวิธีการที่เหมาะสมการสอนที่มุ่งให้เนื้อหาครบตามมาตรฐานทำให้เกิดการสอนที่ครอบคลุมอย่างผิวเผิน สามในสี่ของสิ่งที่สอนกลายเป็นเรื่องที่น่าเบื่อไม่ได้เน้นการใช้เหตุผลหรือทักษะในการแก้ไขปัญหา (หลักสูตรมีหัวข้อมากเกินไป) จะต้องมีการรื้อปรับหลักสูตรให้เน้นเรื่องหลักๆ ที่สำคัญ นักวิชาการทั้งสองได้ นำเสนอภาพตัวอย่างการสอนจากภาพยนตร์ เรื่อง โมนาลิซาสไมล์ (Mona Lisa Smile) การบูรณาการหลักสูตรและแนวคิดสหวิทยาการจะช่วยให้นักเรียนมีเวลา และมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนมากขึ้น การประเมินผลที่เน้นแต่การระลึกและการจดจำ ข้อมูลได้ต้องกลายมาเป็นการประเมินแบบเปิด และอิงกับการปฏิบัติ
บทที่ 8 จอห์น แบเรลล์ ศาสตราจารย์ ด้านการออกแบบหลักสูตรและการสอน จากนิวเจอร์ซีย์ นำเสนอการเรียนรู้จากปัญหา รากฐานสำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ว่า การเรียน การสอนที่ดีจะต้องทำให้นักเรียนเกิดการคิด การตั้งคำถามที่ดี การสืบค้นอย่างมีเป้าหมาย การคิดเชิงวิพากษ์ การหาข้อสรุป การคิดทบทวนหาคำตอบที่เหมาะสม ครูจะต้องเรียนรู้ไปพร้อมๆ กับนักเรียน เขาได้นำเสนอตัวอย่างการสืบค้นอย่าง มีโครงสร้างและกรอบความคิดในการตั้งคำถามสำหรับผู้เรียนรู้
บทที่ 9 โรเจอร์ ที จอห์นสัน และเดวิด ดับปลิว จอห์นสัน นักการศึกษาที่มีผลงานและรางวัลการันตีมากมาย ได้นำเสนอการเรียนรู้แบบร่วมมือและการแก้ไขความขัดแย้ง ทักษะที่จำเป็น สำหรับศตวรรษที่ 21 นักวิชาการทั้งสองได้ชี้ให้เห็นว่าเหตุใดการเรียนรู้แบบร่วมมือ ความขัดแย่งอย่างสร้างสรรค์ และการต่อรองเพื่อการแก้ไข ปัญหาจึงมีบทบาทและคุณค่าที่สำคัญที่จำเป็นต้องสอนให้กับนักเรียน การเรียนรู้แบบร่วมมือทั้งสาม แบบ ได้แก่ แบบเป็นทางการ ไม่เป็นทางการ และ กลุ่มฐานความร่วมมือ แต่ละวิธีต่างมีเทคนิคและวิธีการที่น่าสนใจสำหรับการสอนในศตวรรษที่ 21 ความขัดแย้งเชิงสร้างสรรค์ หมายถึง การสอนให้นักเรียนได้เกิดการอภิปรายถึงข้อดีและข้อเสียของสิ่งที่ตนเองเสนอด้วยการวิจัย การนำเสนอเพื่อการโน้มน้าว การเปิดประเด็นอภิปราย การเปลี่ยนมุมมอง (การชี้แจงเพื่อสนับสนุนฝ่ายตรงกันข้าม) การสังเคราะห์หาสิ่งที่ดีที่สุด การทบทวนทั้งหมดอย่าง สมบูรณ์แบบเพื่อการเรียนรู้จากประสบการณ์การ สอนการต่อรองเชิงบูรณาการ การไกล่เกลี่ยและต่อรองกับความเห็นที่แตกต่าง การสอนในสิ่งเหล่านี้ให้กับนักเรียนมาจากความท้าทาย 4 ประการ ในศตวรรษที่ 21 ก็คือ
(1) การเปลี่ยนแปลงทางสังคมในระดับโลกที่ก่อให้เกิดปรากฏการณ์การพึ่งพากันในระดับโลก ความหลากหลายและความเป็นพหุนิยม
(2) จำนวนประเทศที่เป็นเสรีนิยมมากขึ้น ทักษะการเป็นพลเมืองในโลกดิจิตัล
(3) ความต้องการผู้ประกอบการที่มีหัวคิดสร้างสรรค์
(4) การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เกิดความสัมพันธ์แบบออนไลน์ อัตลักษณ์ แบบออนไลน์ การสัมผัสแบบออนไลน์ มิติทางอารมณ์แบบใหม่ๆ เหล่านี้ซึ่งจะมีผลต่อพัฒนาการของมนุษย์ในอนาคต
บทที่ 10 ดักกลาส ฟิชเชอร์ และแนนซี เฟรย์ ศาสตราจารย์ด้านภาษาและการรู้ (Literacy) นำเสนอการเตรียมนักเรียนให้เชี่ยวชาญสำหรับ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความเชี่ยวชาญที่ว่า ได้แก่ ความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญในเรื่องความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่แตกต่างทางวัฒนธรรม ความเชี่ยวชาญในการแบ่งปันข้อมูลให้กับชุมชนโลก ความเชี่ยวชาญในการบริหาร การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากที่ถาโถมเข้ามาหาพร้อมๆ กันได้เป็นอย่างดี การที่จะเกิดความเชี่ยวชาญเหล่านี้ครูผู้สอนจะต้องตอบสนอง ต่อหลักการที่สำคัญ 3 ประการต่อนักเรียน คือ
(1) ตอบสนองต่อหน้าที่การใช้งานของเครื่องมือ ไม่ใช่ ตัวเครื่องมือ เช่น หน้าที่ของ Google, Keynote, Winba, Ning, iChat ฯลฯ
(2) ตอบสนองต่อการ ทบทวนนโยบายทางเทคโนโลยี มารยาท กฎ การควบคุมพฤติกรรมทางสังคม ในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นผ่านช่องท่างเหล่านี้
(3) ตอบสนองต่อพัฒนาการการคิดของนักเรียนอย่างจงใจ โดยบทเรียนที่เน้นประเด็นการคิด การสอนแบบชี้แนะ การสอนแบบให้ภารกิจความร่วมมือ ตลอดจนการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และครูต้อง ไม่คิดว่าการใช้เทคโนโลยีในการสอนเป็นสิ่งใหม่ เพราะการสอนด้วยเทคโนโลยีนั้นมนุษย์เรียนรู้และใช้เทคโนโลยีมาตลอดในประวัติศาสตร์
บทที่ 11 เชอริล เลมกี ซีอีโอบริษัท ที่ปรึกษาด้านการใช้เทคโนโลยีในโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพ ได้นำ เสนอนวัตกรรมจากเทคโนโลยี 3 ประการที่สำคัญของการเรียนรู้ในศตวรรษ ที่ 21 คือ การทำให้เห็นภาพ (หลักของการใช้มัลติมีเดีย 7 ประการ คือ นักเรียนจะจำได้ดีถ้ามีการใช้เสียงและภาพพร้อมกันโดยที่เนื้อหาต้องไม่ซ้ำซ้อน เนื้อหาแยกต่างพื้นที่กัน เนื้อหาแสดงต่างช่วงเวลากัน ตัดเสียงและภาพที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป การเสนอข้อความบนหน้าจอนักเรียนจะจำได้ดีกว่าการบรรยาย หลักเหล่านี้ส่งผลต่อผู้เรียนเกรดต่ำ และผู้ที่มีความถนัดด้านมิติสัมพันธ์ได้ดี สื่อที่ซับซ้อน ผู้ใช้ต้องสามารถควบคุมได้โดยตรง การทำความรู้ให้เห็นประชาธิปไตย และวัฒนธรรม การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ เธออธิบายว่า ในขณะที่นักเรียนในยุคปัจจุบันก้าวล้ำเข้าไปในเทคโนโลยี แต่นักการศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่ลงมือใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ นวัตกรรมในทรรศนะของเธอถือว่า เป็นเชื้อเพลิงของเศรษฐกิจบนฐานความรู้ ครูต้องมีกลยุทธ์ในการพัฒนานักเรียน เช่น การฝึกให้ บริโภคข้อมูลอย่างเท่าทัน การมีส่วนร่วมในการคิด เชิงวิพากษ์ คิดสร้างสรรค์โดยใช้ภาพ การทำความรู้ให้เป็นประชาธิปไตย (เสมือนเช่น การท่องเน็ต วัตถุการเรียนรู้ การจำลอง มหาวิทยาลัยออนไลน์ บทเรียนออนไลน์) การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
บทที่ 12 – 13 อลัน โนเวมเบอร์ ผู้เชี่ยวชาญในระดับนานาชาติทางด้านเทคโนโลยี ทางการศึกษา ได้ให้แนวคิดที่น่าสนใจว่า ในขณะที่เทคโนโลยีล้ำหน้า ข้อมูลกลับล้าหลังเรามีเทคโนโลยีต่างๆ มากมาย เช่น โปรแกรมประมวล ผลความรู้ (www.wolframalpha.com) โปรแกรมการสร้างบทเรียนบนเว็บ (www.jingproject. com) โปรแกรมการสอนคณิตศาสตร์ (www. mathtrain.com) แต่เรากลับไม่ได้นำเอาสิ่งเหล่านี้มาใช้ประโยชน์เท่าที่ควร วิล ริชาร์ดสันได้นำเสนอ ประเด็นการเรียนรู้ การท่องไปในเครือข่ายสังคมในฐานะเครื่องมือการเรียนรู้ ศักยภาพและหลุมพรางของการแข่งขัน ประโยชน์ของการแข่งขันทางด้าน การศึกษาคือ ทำให้เรามีข้อมูลที่มีคุณภาพมากขึ้น การมีส่วนร่วมในการนำเสนอองค์ความรู้มากขึ้น การมีชื่อเสียงในโลกออนไลน์ ซึ่งทำให้การค้นหา ตลอดจนการพูดคุยกับผู้คนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ ทำได้ง่ายขึ้น (ในอดีต การ ที่เราจะพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่าการงมเข็มในมหาสมุทร) การโพสต์ข้อความผ่านทวิตเตอร์โดยกูรูต่างๆ ก่อให้เกิดการเรียนรู้ได้อย่างมากมาย การเกิดขึ้นของ วิกีพีเดีย (Wikipedia) กลายเป็นจุดศูนย์กลางขององค์ความรู้ในโลกออนไลน์ ริชาร์ดสันให้แนวคิดว่า การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความรู้พื้นฐานด้านเครือข่าย ครูส่วนใหญ่มองว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ เกินกว่าจะดำเนินการ แทนที่จะนำเอาเทคโนโลยี มาใช้ให้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีเหล่านี้ก็ยังคงมีหลุมพราง คือ การที่เราไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงของคนในเครือข่ายที่เรา มีปฏิสัมพันธ์ด้วยไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เจตคติ ค่านิยม อคติ ฯลฯ ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะต้องคำนึง
บทที่ 14 ดักลาส รีฟส์ ผู้เชี่ยวชาญด้านผู้นำและประสิทธิผลองค์กร ได้นำเสนอกรอบการประเมินสำหรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ด้วย คำถามที่น่าในใจว่า “เราจะรู้ได้อย่างไรว่านักเรียนของเรากำลังเรียนรู้” เขาให้แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินไว้ว่า วิธีการประเมินที่มีเงื่อนไขที่สามารถ เปลี่ยนแปลงได้ไม่ต้องอิงมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด การประเมินเป็นทีมเป็นรูปแบบที่น่าสนใจ การประเมินจะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลไม่ใช่ทำให้ข้อมูลการประเมินเป็นสิ่งลี้ลับ กรอบแนวคิดในการประเมินในทศวรรษที่ 21 ขัดแย้งกับกรอบแนวคิดเก่าๆ โบราณ กับสมมุติฐานดั้งเดิมในเรื่องความคงเส้นคงวาของการประเมิน ความเป็นบรรทัดฐาน เดียวกัน การควบคุมการทดสอบ ทั้งนี้เนื่องจากในศตวรรษที่ 21 นั้น ไม่มีสภาพแวดล้อมที่เป็นมาตรฐานเดียว นักเรียนบางคนใช้เวลาน้อยในการประสบความสำเร็จ ในขณะที่นักเรียนบางคน อาจต้องการเวลามากขึ้นเพื่อความสำเร็จที่เป็นเป้าหมายสุดท้ายอันเดียวกัน การประเมินต้องให้น้ำหนักในเรื่องความคิดสร้างสรรค์ การคิดวิเคราะห์ และการแก้ไขปัญหา นอกจากนี้ รีพส์เสนอว่า การประเมินในศตวรรษที่ 21 จะต้องให้คุณค่า น้ำหนัก ของการเปิดเผยนักเรียนต้องมีส่วนร่วมในการสร้างการประเมิน นักเรียนจะต้องรู้คำถามก่อน เพราะการรู้คำถามก่อนไม่ใช่การโกงอีกต่อไป เช่น การสอบนักบิน ผู้เข้าสอบจะต้องเห็นข้อสอบก่อนการทดสอบ (ข้อสอบที่มีเดิมพันสูง) ครูผู้สอนต้องเผยแพร่คำถามก่อนเพื่อให้นักเรียนเตรียมพร้อม การประเมินหลากหลายระดับ ระดับบุคคล ระดับทีม การประเมินจะต้องมีความครอบคลุมใน 5 มิติ คือ การประเมินความรู้ ความเข้าใจ การสร้างสรรค์ การสำรวจ และการแบ่งปันองค์ความรู้ (การช่วยเหลือคนอื่นของนักเรียน) และท้ายที่สุดจะต้องมี การประเมินการประเมิน เพื่อทบทวนการประเมินว่ายังคงสมบูรณ์ดีหรือไม่
สรุป
สิ่งที่ปรากฏในหนังสือ21st Century Skills: Rethinking How Students Learn ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21 ถือเป็นหนังสือที่ช่วยเปิดมุมมอง โลกทัศน์ต่างๆ ที่เราพึงมีต่อการศึกษาของ ประเทศเรา ของโลก เพื่อช่วยให้เรามองเห็นแนวโน้มของการพัฒนานักเรียนของเราให้เป็นผู้ที่จะสามารถยืนอยู่ในสังคมโลกได้อย่างเท่าทันการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้บางอย่างเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ในหลายๆ ประเทศ บางอย่างกำลังเป็นสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และบางอย่างก็เป็นภาพร่างที่ก่อให้เกิดมุมมองใหม่ๆ ที่เรามีต่อการศึกษาอย่าง ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ การอ่านหนังสือเล่มนี้จะช่วยให้เราเข้าใจแนวคิดต่างๆ ของนักการศึกษาชั้นนำในระดับโลกว่าเขาคิดอะไร อย่างไร เมื่อไร และทำไม อย่างไรก็ตาม การสังเคราะห์ หนังสือเล่มนี้ไม่อาจจะทำได้อย่างครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดอย่างที่ใจต้องการได้แต่หวังว่า หากท่านใดที่ต้องการรายละเอียดลึกซึ้งมากขึ้น ก็สามารถศึกษาเพิ่มเติมจากหนังสือเล่มดังกล่าวได้ การอ่านของท่านแม้แต่เพียงบรรทัดเดียวก็เสมือนท่านกำลังจุดเทียนให้กับการพัฒนาการศึกษาของไทยและของประชาคมโลกไปพร้อมกัน
4. การจัดการเรียนรู้
แก้ไข4.1 การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (PROBLEM-BASED LEARNING) การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ซึ่งในการจัดทำคู่มือจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานครั้งนี้ ขอนำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับแนวคิดพื้นฐาน จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้ ลักษณะของปัญหาในการจัดการเรียนรู้ การเตรียมตัวของครูก่อนการจัดการเรียนรู้ ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ การประเมินผลการเรียนรู้ และบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้
แนวคิดพื้นฐานของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
การจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานเป็นจัดการเรียนรู้ที่เน้นในสิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้ โดยสิ่งที่อยากเรียนรู้ดังกล่าวจะต้องเริ่มมาจากปัญหาที่เด็กสนใจหรือพบในชีวิตประจำวันที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทเรียน อาจเป็นปัญหาของตนเองหรือปัญหาของกลุ่ม ซึ่งครูจะต้องมีการปรับเปลี่ยนแผนการจัดการเรียนรู้ตามความสนใจของเด็กตามความเหมาะสม จากนั้นครูและเด็กร่วมกันคิดกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหานั้น โดยปัญหาที่จะนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้บางครั้งอาจเป็นปัญหาของสังคมที่ครูเป็นผู้กระตุ้นให้เด็กคิดจากสถานการณ์ ข่าว เหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะเน้นที่กระบวนการเรียนรู้ของเด็ก เด็กต้องเรียนรู้จากการเรียน (learning to learn) เน้นปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในกลุ่ม การปฏิบัติและการเรียนรู้ร่วมกัน (Collaborative Learning) นำไปสู่การค้นคว้าหาคำตอบหรือสร้างความรู้ใหม่บนฐานความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีมาก่อนหน้านี้
จุดมุ่งหมายของการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
รูปแบบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐานมีจุดมุ่งหมายเพื่อฝึกทักษะการคิดแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและเป็นระบบให้แก่นักเรียนโดยจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิดแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์ คิดวิจารณญาณ การสืบค้นและรวบรวมข้อมูล กระบวนการกลุ่ม การบันทึกและการอภิปราย
ลักษณะของปัญหาในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
1. เกิดขึ้นในชีวิตจริงและเกิดจากประสบการณ์ของผู้เรียนหรือผู้เรียนอาจมีโอกาสได้เผชิญกับ
ปัญหานั้น
2. เป็นปัญหาที่พบบ่อยมีความสำคัญมีข้อมูลเพียงพอสำหรับการค้นคว้า
3. เป็นปัญหาที่ยังไม่มีคำตอบชัดเจน ตายตัวหรือแน่นอนและเป็นปัญหาที่มีความซับซ้อนคลุมเครือหรือผู้เรียนเกิดความสงสัย
4. เป็นปัญหาที่มีประเด็นขัดแย้ง ข้อถกเถียงในสังคมยังไม่มีข้อยุติ
5. เป็นปัญหาที่อยู่ในความสนใจ เป็นสิ่งที่อยากรู้แต่ไม่รู้
6. ปัญหาที่สร้างความเดือดร้อน เสียหาย เกิดโทษ ภัย และเป็นสิ่งไม่ดี หากมีการนำข้อมูลมาใช้โดยลำพังคนเดียวอาจทำให้ตอบปัญหาผิดพลาด
7. ปัญหาที่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่นว่าจริง ถูกต้อง แต่ผู้เรียนไม่เชื่อว่าจริง ยังไม่สอดคล้องกับความคิดของผู้เรียน
8. ปัญหาที่อาจมีคำตอบ หรือแนวทางการแสวงหาคำตอบได้หลายทางครอบคลุมการเรียนรู้ที่กว้างขวางหลากหลายเนื้อหา
9. เป็นปัญหาที่มีความยากง่ายเหมาะสมกับพื้นฐานของผู้เรียน
10. เป็นปัญหาที่ไม่สามารถหาคำตอบของปัญหาได้ทันที ต้องมีการสำรวจ ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล หรือทดลองดูก่อน จึงจะได้คำตอบ ไม่สามารถคาดเดา หรือทำนายได้ง่ายๆ ว่าต้องใช้ความรู้อะไร ยุทธวิธีในการสืบเสาะหาความรู้เป็นอย่างไร หรือคำตอบ หรือผลของความรู้เป็นอย่างไร
11. เป็นปัญหาที่ส่งเสริมความรู้ด้านเนื้อหา ทักษะ สอดคล้องกับหลักสูตรการศึกษา
การเตรียมตัวของครูก่อนการจัดการเรียนรู้
1. ศึกษาหลักสูตร เพื่อให้ครูเกิดความเข้าใจจุดประสงค์ของหลักสูตร ตลอดจนตัวชี้วัดและมาตรฐานการเรียนรู้ต่างๆอย่างละเอียดและสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางตามเป้าหมายการเรียนรู้ได้
2. วางแผนผังการจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับเนื้อเรื่องที่จะสอน โดยครูต้องหาความรู้ที่เชื่อมโยงกับเนื้อเรื่องในการกำหนดแผนการจัดการเรียนรู้ คือมีการออกแบบกิจกรรมด้วยตนเอง ใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ชุมชนเพื่อเป็นการสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ให้กับเด็ก ออกแบบกิจกรรมใช้สื่อให้ทันกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ทันกับคำตอบของเด็ก และเชื่อมโยงกับสิ่งที่เด็กเรียนรู้ โดยเน้นออกแบบกิจกรรมการสอนแบบบูรณาการรายวิชา
3. ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสม ครูผู้สอนต้องออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้อย่างรัดกุมให้รายละเอียดการจัดกิจกรรมที่ชัดเจน คือไม่ว่าครูท่านใดอ่านแผนการจัดการเรียนรู้ แล้วสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแผนดังกล่าวได้
4. ครูผู้สอนสอบถามความต้องการในการเรียนและสร้างความคุ้นเคยกับนักเรียน ครูจะต้องสร้างความคุ้นเคยกับนักเรียนและถามความต้องการของนักเรียนว่าอยากเรียนอะไรในปีการศึกษานั้นเพื่อสำรวจความต้องการของผู้เรียนไว้เป็นแนวทางในการออกแบบการจัดการเรียนรู้ให้สอดคล้องระหว่างหลักสูตรและความต้องการของนักเรียน เพื่อความสะดวกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีความเหมาะสมและเป็นกิจกรรมที่น่าสนใจสำหรับนักเรียนมากขึ้น
ขั้นตอนการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
1. ทดสอบความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาที่จะสอนก่อนเรียน เพื่อจะได้ทราบความรู้พื้นฐานของนักเรียนเป็นรายบุคคลในเรื่องดังกล่าว และเป็นแนวทางในการออกแบบหรือปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครูให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของนักเรียนด้วย
2. ให้ความรู้เบื้องต้นก่อนเริ่มกิจกรรมการเรียนรู้ ความรู้พื้นฐานจะนำไปสู่การเรียนรู้ของเด็กในกิจกรรมที่ต้องลงมือปฏิบัติ ดังนั้น ครูจึงต้องอธิบายเนื้อหาคร่าวๆ เพื่อให้เด็กเกิดความเข้าใจในเบื้องต้น
3. เปิดโอกาสให้เด็กเสนอสิ่งที่อยากเรียนรู้ โดยให้เด็กเขียนถึงสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ และสิ่งที่ตนเองเรียนรู้มาแล้ว สิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้อาจเป็นปัญหาในชีวิตประจำวัน หรือปัญหาของชุมชน หรือแนวทางในการแก้ปัญหาที่ถูกกำหนดขึ้นในชั้นเรียนที่เด็กช่วยกันคิดและอยากลงมือปฏิบัติ
4. แบ่งกลุ่มเด็กในการทำกิจกรรม เพื่อให้เด็กรู้จักวางแผนคือ ให้เด็กรู้จักกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเอง โดยการทำปฏิทินการเรียนรู้ตามความต้องการในการเรียนของตน วิธีการดังกล่าวเพื่อให้เด็กรู้หน้าที่ของตนเองและในขณะเดียวกันสามารถแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบให้แก่ตนเองและเพื่อนในกลุ่มได้
5. สร้างกติกาในการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน เพื่อให้เด็กรู้จักเคารพในเงื่อนไขและกติกาที่กำหนดขึ้น โดยทุกคนในชั้นเรียนจะต้องยอมรับและปฏิบัติตาม
6. ให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ครูเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติได้กิจกรรมต่างๆด้วยตนเอง โดยครูจะคอยเป็นผู้แนะนำ ตอบคำถามและสังเกตเด็กขณะทำกิจกรรม
7. ครูให้เด็กสรุปสิ่งที่เรียนรู้จากการทำกิจกรรมและให้เด็กได้นำเสนอผลงานของตน โดยครูเป็นผู้คอยสนับสนุนให้เกิดการนำเสนอที่หลากหลายรูปแบบและเป็นไปอย่างสร้างสรรค์ ไม่จำกัดแนวคิดในการนำเสนอ
8. ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของเด็ก จากผลงานและพฤติกรรมที่เด็กแสดงออกขณะร่วมกิจกรรม โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่จะสอนเป็นหลัก
การประเมินผลการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
การประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานควรจะมีการประเมินผลตามสภาพจริง มีการกำหนดเป้าหมายที่มีความสัมพันธ์ในการประเมิน ได้แก่ 1) ควรทำความเข้าใจด้านกระบวนการที่เกี่ยวกับการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน 2) การพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน และ 3) สิ่งที่ได้รับจากเนื้อหาวิชา โดยทำการประเมินดังนี้
1. การประเมินตามสภาพจริง เป็นการวัดผลหรือประเมินผลการปฏิบัติงานของนักเรียนโดยตรงผ่านชีวิตจริง เช่น การดำเนินการด้านการสืบสวน ค้นคว้า การร่วมมือกันทำงานกลุ่มในการแก้ปัญหา การวัดผลจากการปฏิบัติงานจริง เป็นต้น
2. การสังเกตอย่างเป็นระบบ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับการประเมินผลในด้านทักษะกระบวนการของผู้เรียนในขณะเรียน ผู้สอนต้องมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินให้ชัดเจน เช่น การแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์นั้น ควรมีการกำหนดเกณฑ์การประเมินไว้ ได้แก่ การสร้างปัญหาหรือคำถาม การสร้างสมมติฐาน การระบุตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุม การอธิบายแนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูล และการประเมินผลสมมติฐานบนพื้นฐานของข้อมูลที่ดี
บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน
1. สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียน คอยให้คำปรึกษา กระตุ้นให้ผู้เรียนเอาความรู้เดิมที่มีอยู่มาใช้และเกิดการเรียนรู้โดยการตั้งคำถาม
2. ส่งเสริมให้ผู้เรียนประเมินการเรียนรู้ของตนเอง รวมทั้งเป็นผู้ประเมินทักษะของผู้เรียนและกลุ่ม พร้อมให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาตนเอง
4.2 การจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (PROJECT-BASED LEARNING) การเตรียมตัวของครูก่อนการจัดการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนรู้แต่ละครั้ง ครูจะต้องเป็นผู้ที่มีความพร้อมและมีความแม่นยำในเนื้อหาเพื่อให้การจัดการเรียนรู้เป็นไปอย่างราบรื่น และสามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ขณะกิจกรรม ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดังกล่าว มีแนวทางในการจัดการเรียนรู้ 2 รูปแบบ คือ การจัดกิจกรรมตามความสนใจของผู้เรียน และการจัดกิจกรรมตามสาระการเรียนรู้
ขั้นการจัดการเรียนรู้ ตามโมเดลจักรยานแห่งการเรียนรู้แบบ PBL
1. Define คือ ขั้นตอนการทำให้สมาชิกของทีมงาน ร่วมทั้งครูด้วยมีความชัดเจนร่วมกันว่า คำถาม ปัญหา ประเด็น ความท้าทายของโครงการคืออะไร และเพื่อให้เกิดการเรียนรู้อะไร
2. Plan คือ การวางแผนการทำงานในโครงการ ครูก็ต้องวางแผน กำหนดทางหนีทีไล่ในการทำหน้าที่โค้ช รวมทั้งเตรียมเครื่องอำนวยความสะดวกในการทำโครงการของนักเรียน และที่สำคัญ เตรียมคำถามไว้ถามทีมงานเพื่อกระตุ้นให้คิดถึงประเด็นสำคัญบางประเด็นที่นักเรียนมองข้าม โดยถือหลักว่า ครูต้องไม่เข้าไปช่วยเหลือจนทีมงานขาดโอกาสคิดเองแก้ปัญหาเอง นักเรียนที่เป็นทีมงานก็ต้องวางแผนงานของตน แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ การประชุมพบปะระหว่างทีมงาน การแลกเปลี่ยนข้อค้นพบแลกเปลี่ยนคำถาม แลกเปลี่ยนวิธีการ ยิ่งทำความเข้าใจร่วมกันไว้ชัดเจนเพียงใด งานในขั้น Do ก็จะสะดวกเลื่อนไหลดีเพียงนั้น
3. Do คือ การลงมือทำ มักจะพบปัญหาที่ไม่คาดคิดเสมอ นักเรียนจึงจะได้เรียนรู้ทักษะในการแก้ปัญหา การประสานงาน การทำงานร่วมกันเป็นทีม การจัดการความขัดแย้ง ทักษะในการทำงานภายใต้ทรัพยากรจำกัด ทักษะในการค้นหาความรู้เพิ่มเติมทักษะในการทำงานในสภาพที่ทีมงานมีความแตกต่างหลากหลาย ทักษะการทำงานในสภาพกดดัน ทักษะในการบันทึกผลงาน ทักษะในการวิเคราะห์ผล และแลกเปลี่ยนข้อวิเคราะห์กับเพื่อนร่วมทีม เป็นต้น ในขั้นตอน Do นี้ ครูเพื่อศิษย์จะได้มีโอกาสสังเกตทำความรู้จักและเข้าใจศิษย์เป็นรายคน และเรียนรู้หรือฝึกทำหน้าที่เป็น “วาทยากร” และโค้ชด้วย
4. Review คือ การที่ทีมนักเรียนจะทบทวนการเรียนรู้ ที่ไม่ใช่แค่ทบทวนว่า โครงการได้ผลตามความมุ่งหมายหรือไม่ แต่จะต้องเน้นทบทวนว่างานหรือกิจกรรม หรือพฤติกรรมแต่ละขั้นตอนได้ให้บทเรียนอะไรบ้าง เอาทั้งขั้นตอนที่เป็นความสำเร็จและความล้มเหลวมาทำความเข้าใจ และกำหนดวิธีทำงานใหม่ที่ถูกต้องเหมาะสมรวมทั้งเอาเหตุการณ์ระทึกใจ หรือเหตุการณ์ที่ภาคภูมิใจ ประทับใจ มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ขั้นตอนนี้เป็นการเรียนรู้แบบทบทวนไตร่ตรอง (reflection) หรือในภาษา KM เรียกว่า AAR (After Action Review)
5. Presentation คือ การนำเสนอโครงการต่อชั้นเรียน เป็นขั้นตอนที่ให้การเรียนรู้ทักษะอีกชุดหนึ่ง ต่อเนื่องกับขั้นตอน Review เป็นขั้นตอนที่ทำให้เกิดการทบทวนขั้นตอนของงานและการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นอย่างเข้มข้น แล้วเอามานำเสนอในรูปแบบที่เร้าใจ ให้อารมณ์และให้ความรู้ (ปัญญา) ทีมงานของนักเรียนอาจสร้างนวัตกรรมในการนำเสนอก็ได้ โดยอาจเขียนเป็นรายงาน และนำเสนอเป็นการรายงานหน้าชั้น มีเพาเวอร์พอยท์ (PowerPoint) ประกอบ หรือจัดทำวิดิทัศน์นำเสนอ หรือนำเสนอเป็นละคร เป็นต้น
4.3 ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) PLC คือ กระบวนการที่ครู รวมตัว ร่วมใจ รวมพลัง เรียนรู้ร่วมกัน ละร่วมทำ เพื่อพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งพัฒนาครูด้วยกัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง โดยใช้โรงเรียน ห้องเรียนเป็นฐาน และนักเรียนเป็นหน้างาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด และหลากหลาย เกิดการพัฒนาที่โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
ความเป็นมาของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
แนวคิดที่มา PLC ของ Karson และคณะ (2000) ในสถานศึกษาที่พัฒนามาจาก “องค์กรแห่งการเรียนรู้” ที่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กรที่เป็นโรงเรียน จึงมาเป็น “โรงเรียนแห่งการเรียนรู้” และมีการประยุกต์หรือพัฒนาจากงานวิจัยต่างๆ จนเกิดเป็น “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ”
ความหมายของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
PLC หมายถึง การรวมตัว ร่วมมือร่วมใจ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน
เป้าหมายของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
1. เพื่อสร้างการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
2. เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงของครู
3. เพื่อสร้างการทำงานร่วมกันของครูแบบกัลยาณมิตร และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
วัตถุประสงค์ของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
1. เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้เกิดการร่วมมือ รวมพลังของทุกฝ่าย ในการพัฒนาการเรียนการสอนสู่คุณภาพผู้เรียน
3. เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการพัฒนาผู้เรียน
เป้าหมายของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
1. เพื่อสร้างการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
2. เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงของครู พัฒนาวิชาชีพครูด้วยการพัฒนาผู้เรียน ตลอดจนเป็นการทบทวนการปฏิบัติงาน
3. เพื่อสร้างการทำงานร่วมกันของครูแบบกัลยาณมิตร ร่วมมือรวมพลังของทุกฝ่ายในการพัฒนาผู้เรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
องค์ประกอบสำคัญของ PLC
1. ต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน มีเป้าหมาย ทิศทางเดียวกันมุ่งสู่การพนาการเรียนการสอนสู่คุณภาพผู้เรียน
2. ร่วมแรงร่วมใจ และร่วมมือ ต้องเปิดใจ รับฟัง เสนอวิธีการนำสู่การปฏิบัติและประเมินร่วมกัน open เปิดใจรับและให้ care และ Share
3. ภาวะผู้นำร่วม การทำ PLC ต้องมีผู้นำและผู้ตามในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
4. กัลยาณมิตร เป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพเติมเต็มส่วนที่ขาดของแต่ละคน
5. ต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร ต้องเน้นการทำงานที่เปิดโอกาสการทำงานที่ช่วยเหลือกันมากกว่าการสั่งการ มีชั่วโมง
6. การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ การเรียนรู้การปฏิบัติงานและตรง กลับภาระงานคือการสอนสู่คุณภาพผู้เรียน
ประโยชน์ต่อครูผู้สอน
1. ลดความรู้สึกโดดเดี่ยวในการสอนของครูลง
2. เพิ่มความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียนมากขึ้น โดยเพิ่มความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติให้บรรลุพันธกิจอย่างแข็งขัน
3. มีความรู้สึกที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อการพัฒนาการโดยรวมของนักเรียนและร่วมกันรับผิดชอบเป็นกลุ่มต่อผลสำเร็จของนักเรียน
4.4 การจัดการเรียนรู้โดยใช้โซเชียลมีเดีย (Learning Management by Social Media) SOCIAL NETWORK คือ ?
Social Network หมายถึง การที่ผู้คนเชื่อมโยงกัน ทําความรู้จัก สื่อสารกัน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยจะเรียกเว็บไซต์ที่เป็นสื่อกลางให้บริการข้อมูลข่าว สารประเภทนี้ว่า “Social Network”
SOCIAL MEDIA คือ ?
Social Media หมายถึงสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นสื่อกลางที่ให้บุคคลทั่วไปมีส่วนร่วมสร้างและ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่างๆ ผ่านอินเทอร์เน็ตได้
Social Media ที่ใช้งานกันในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่
1. Blog มาจากคำเต็มว่า Weblog บางครั้งอ่านว่า Weblog , Web Log ซึ่ง Blog ถือเป็นเครื่องมือสื่อสารที่ใช้งานบนเว็บไซต์มีลักษณะเหมือนกับเว็บบอร์ด ผู้ใช้ Blog สามารถเขียนบทความของตนเองและเผยแพร่ลงบนอินเทอร์เน็ตได้โดยง่าย Blog เปิดโอกาสให้บุคคลที่มีความสามารถในด้านต่างๆ เผยแพร่ความรู้ด้วยการเขียนได้อย่างเสรี ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Blog เช่น Learners, GotoKnow, wordpress, blogger เป็นต้น
2. Social Networking หรือเครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นรูปแบบของเว็บไซต์ในการสร้างเครือข่ายสังคมในอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ใช้เขียนและอธิบายความสนใจหรือกิจกรรมที่ทำ เพื่อเชื่อมโยงความสนใจและกิจกรรมกับผู้อื่นในเครือข่ายสังคมด้วยการสนทนาออนไลน์ การส่งข้อความ การส่งอีเมล์ การอัปโหลดวิดีโอ เพลง รูปถ่ายเพื่อแบ่งปันกับสมาชิกในสังคมออนไลน์ เป็นต้น เครือข่ายสังคมที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน ดังนี้
FACEBOOK สามารถนําเฟซบุ๊คมาใช้การแบ่งปัน เรื่องราว ความรู้แง่คิด ประสบการณ์ ทําให้เราเรียนรู้เรื่องราวชีวิตของผู้อื่น สามารถนําสิ่งที่ได้มาปรับใช้ได้ การเรียนรู้รวมกันผ่านเฟซบุ๊คทําได้โดยส ร้างกลุ่มเพื่อการเรียนรู้เรื่องที่สนใจร่วม กัน และสามารถนําเฟซบุ๊คไปใช้ในการจัดการ เรียนการสอน โดยใช้เป็นกิจกรรมหลัก หรือการเสริมบทเรียน โดยการสร้างเป็นกลุ่มเรียนแล้วนําเสนอ สื่อการสอนในรูปแบบของเนื้อหา บทความ สื่อมัลติมีเดีย การนําเสนองาน
YOUTUBE ใช้เป็นสื่อประกอบการเรียนการสอน เช่น สาธิตวิธีการทําอาหารเพื่อให้ผู้เรียนเห็น ภาพจริงสามารถนําไปปฏิบัติได้ หรือสอนภาษาอังกฤษ เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และผู้เรียนสามารถนําไปต่อยอดการ เรียนรู้ได้
TWITTER การจัดการเรียนรู้โดยใช้ SOCIAL MEDIA สร้างกลุ่มที่สนใจเรื่องเดียวกันหรือเข้าร่ วมเรียนวิชาเดียวกันหรือกิจกรรมเดียว กัน โดยการใช้แท็กที่ขึ้นต้นด้วย # ข้อความที่เกี่ยวข้องกับวิชานี้จะมีแท็กที่ ขึ้นต้นด้วย #xmlws นอกจากนี้ได้ใช้ฟังก์ชันรายชื่อ (list) ของทวิตเตอร์เพื่อดูข้อความทวีตของผู้ เรียนทุกคนในวิชาที่สอน
3. Micro Blog เป็นรูปแบบหนึ่งของ Blog ที่จำกัดขนาดของข้อความที่เขียน ผู้ใช้สามารถเขียนข้อความได้สั้นๆ ตัวอย่างของ Micro Blog เช่น Twitter, Pownce, Jaiku และ tumblr เป็นต้น โดย Twitter เป็น Micro Blog ที่มีผู้นิยมใช้มากที่สุด กล่าวคือสามารถเขียนข้อความแต่ละครั้งได้เพียง 140 ตัวอักษร
4. Media Sharing เป็นเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้สามารถอัพโหลดรูปภาพ แฟ้มข้อมูล เพลง หรือวิดีโอเพื่อแบ่งปันให้กับสมาชิก หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชน ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Media Sharing เช่น Youtube, Flickr และ 4shared เป็นต้น
5. Social News and Bookmarking เป็นเว็บไซต์ที่เชื่อมโยงไปยังบทความหรือเนื้อหาในอินเทอร์เน็ต โดยผู้ใช้เป็นผู้ส่งและสามารถให้คะแนนและเลือกบทความหรือเนื้อหาใดที่น่าสนใจที่สุดได้ ผู้ใช้สามารถ Bookmark เนื้อหาหรือเว็บไซต์ที่ชื่นชอบได้ รวมทั้งยังแบ่งปันให้กับผู้อื่นได้ด้วย
SOCIAL NETWORK กับโลกปัจจุบัน
ปัจจุบันสังคมโลกใช้งานโซเชียลมีเดียบนโซเชียลเน็ต เวิร์คในการติดต่อสื่อสาร หรือแบ่งปันข้อมูลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมสัมพันธ์กับผู้อื่น การติดต่อเพื่อการค้าขาย การแบ่งปันข่าวสารและสื่อต่างๆ รวมทั้งนํามาช่วยในการจัดการเรียนการสอน
SOCIAL NETWORK กับการศึกษา
สื่อสังคมหรือโซเชียลมีเดีย เป็นสื่อใหม่ที่กําลัง มีบทบาทและมีอิทธิพลค่อนข้างสูงในสังคมปัจจุบันซึ่ง ในส่วนของวงการศึกษาและการจัดการเรียนรู้ ได้มีการนําเอาสื่อเหล่านี้มาใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งนี้ เนื่องจากสื่อสังคมจะก่อให้เกิดคุณประโยชน์หลายประการ
2. คุณนำความรู้ที่ได้เรียนรู้ไปใช้อย่างไร
แก้ไขตอบ 1. การใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ
แก้ไข1. การทำงานกลุ่ม ขณะที่เรียนในมหาวิทยาลัย การได้รับมอบหมายทำงานกลุ่มนั้นมีมากมาย มีทั้งกลุ่มที่เลือกเอง และกลุ่มที่ได้จากการสุ่ม จึงมีการใช้ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือเข้ามาช่วย โดยจุดมุ่งหมายของทฤษฎีนี้คือ "ความสำเร็จของกลุ่มคือความสำเร็จของสมาชิกแต่ละคน" ซึ่งกลุ่มที่เลือกเอง และกลุ่มที่ได้จากการสุ่มนั้นสมาชิกแต่ละคนย่อมมีความสามารถ ระดับความรู้ และประสบการณ์ที่ต่างกันอยู่แล้ว จะใช้รูปแบบจี.ไอ (GI) หรือ Group Investigation คือ สมาชิกในกลุ่มจะทราบระดับความสามารถของกันและกันดีอยู่แล้ว ดังนั้นการแบ่งเนื้อหาออกเป็นส่วนๆ แล้วแบ่งกันไปหาคำตอบย่อมทำให้งานประสบผลสำเร็จเร็ว
2. การสอบ ถึงแม้การเรียนในมหาวิทยาลัยเดียวกัน เรียนเรื่องเดียวกัน แต่ระดับความเชี่ยวชาญในเนื้อหาที่เรียนของแต่ละบุคคลจะต่างกัน เช่น การเรียนคณะครุศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ จะมีคนที่เก่งในวิชาชีพครู และคนที่เก่งในวิชาเอก ดังนั้นรูปแบบจิ๊กซอร์ (Jigsaw) จังเหมาะที่จะใช้ในการสอบคือ เพื่อนแต่ละคนจะศึกษาเรื่องที่ตนเองเชี่ยวชาญ และผัดเปลี่ยนกันถ่ายทอดความรู้ในเรื่องที่ตนเองเชี่ยวชาญ ทำให้ผู้ที่ถ่ายทอดและผู้รับสารเข้าใจเนื้อได้ดียิ่งขึ้น
2. การจัดการเรียนรู้โดยใช้โซเชียลมีเดีย
แก้ไข1. การเรียน มีการสร้างกลุ่มLine Facebook และ Googleclassroom เพื่อส่งงาน แจ้งข่าวสาร ติดต่อสื่อสาร แบ่งปันข้อมูล การนำเสนองานระหว่างอาจารย์ผู้สอนกับนักศึกษา หรือแม้กระทั่งสืบค้นข้อมูลเพื่อทำงาน เพราะในโซเชียลมีทั้งสื่อแบบเนื่้อหาบทความ สื่อมัลติมีเดีย
2. การทำงาน มีการสร้างกลุ่มLine Facebook Messenger Googledoc เพื่อติดต่อนัดเวลาทำงาน ส่งเว็บไซต์ บทความ มัลติมีเดียที่จำเป็นต่อการทำงาน ซึ่งการทำงาน
ใช้ Google Yahoo Wikipedia ในการสืบค้นข้อมูล
3. คุณได้เสนอแนะหรือแบ่งปันอะไรบ้างในการเรียนรู้
แก้ไขตอบ 1. การจักการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญครูควรจัดการเรียนรู้อย่างไร
แก้ไขคือ การที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ประเมินความรู้ตัวเอง เพราะนักเรียนจะได้เห็นจุดบกพร่องของตนเอง และเอาผลของการประเมินนี้ไปปรับปรุงตัวเอง
2. ทฤษฎีการเรียนรู้
แก้ไขได้รับมอบหมายให้นำเสนอทฤษฎีการเรียนรู้ของเบญจมินบลูม ด้านจิตพิสัย (Affective Domain)
ค่านิยม ความรู้สึก ความซาบซึ้ง ทัศนคติ ความเชื่อ ความสนใจและคุณธรรม พฤติกรรมด้านนี้อาจไม่เกิดขึ้นทันที ดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และสอดแทรกสิ่งที่ดีงามอยู่ตลอดเวลา จะทำให้พฤติกรรมของผู้เรียนเปลี่ยนไปในแนวทางที่พึงประสงค์ได้ ด้านจิตพิสัยจะประกอบด้วย พฤติกรรมย่อย ๆ 5 ระดับ ได้แก่
1.การรับรู้ เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นต่อปรากฎการณ์ หรือสิ่งเร้าอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแปลความหมายของสิ่งเร้านั้นว่าคืออะไร แล้วจะแสดงออกมาในรูปของความรู้สึกที่เกิดขึ้น
2. การตอบสนอง เป็นการกระทำที่แสดงออกมาในรูปของความเต็มใจ ยินยอม และพอใจต่อสิ่งเร้านั้น ซึ่งเป็นการตอบสนองที่เกิดจากการเลือกสรรแล้ว
3. การเกิดค่านิยม การเลือกปฏิบัติในสิ่งที่เป็นที่ยอมรับกันในสังคม การยอมรับนับถือในคุณค่านั้น ๆ หรือปฏิบัติตามในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนกลายเป็นความเชื่อ แล้วจึงเกิดทัศนคติที่ดีในสิ่งนั้น
4. การจัดระบบ การสร้างแนวคิด จัดระบบของค่านิยมที่เกิดขึ้นโดยอาศัยความสัมพันธ์ถ้าเข้ากันได้ก็จะยึดถือต่อไปแต่ถ้าขัดกันอาจไม่ยอมรับอาจจะยอมรับค่านิยมใหม่โดยยกเลิกค่านิยมเก่า
5. บุคลิกภาพ การนำค่านิยมที่ยึดถือมาแสดงพฤติกรรมที่เป็นนิสัยประจำตัว ให้ประพฤติปฏิบัติแต่สิ่งที่ถูกต้องดีงามพฤติกรรมด้านนี้ จะเกี่ยวกับความรู้สึกและจิตใจ ซึ่งจะเริ่มจากการได้รับรู้จากสิ่งแวดล้อม แล้วจึงเกิดปฏิกิริยาโต้ตอบ ขยายกลายเป็นความรู้สึกด้านต่าง ๆจนกลายเป็นค่านิยม และยังพัฒนาต่อไปเป็นความคิด อุดมคติ ซึ่งจะเป็นควบคุมทิศทางพฤติกรรมของคนคนจะรู้ดีรู้ชั่วอย่างไรนั้น ก็เป็นผลของพฤติกรรมด้านนี้
และได้นำเสนอการตกแต่งพาวเวอร์พ้อยให้มีความน่าสนใจ
3. รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ
แก้ไขเนื่องจากวันนั้นอาจารย์ได้จัดการเรียนรูแบบจิ๊กซอร์ ขณะที่อยู่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ข้าพเจ้าได้สรุปเนื้อหาที่ต้องเขียนในการดาษชาจนำเสนอ และได้เขียน ตกแต่งผลงานให้น่าสนใจ
ได้รับมอบหมายให้นำเสนอ รูปแบบแอลที (LT) หรือ Learning Together มีรายละเอียดดังนี้
1.1 จัดผู้เรียนคละความสามารถ เก่ง ปานกลาง อ่อนเรียกว่า "กลุ่มบ้าน"
1.2 ศึกษาเนื้อหาร่วมกัน โดยกำหนดให้แต่ละคนมีบทบาทหน้าที่ เช่น อ่านคำสั่ง หาคำตอบ ตรวจคำตอบ เป็นต้น
1.3 กลุ่มสรุปคำตอบร่วมกันและส่งคำตอบนั้นเป็นผลงานกลุ่ม
1.4 ผลงานกลุ่มได้คะแนนเท่าไร แต่ละคนจะได้คะแนนตามผลงานกลุ่ม
และได้สรุปเนื้อหา รูปแบบเอส.ที.เอ.ดี (STAD) หรือ Student-Team-Achievement- Divisions มีรายละเอียดดังนี้ 3.1 จัดผู้เรียนคละความสามารถ เก่ง ปานกลาง อ่อนกลุ่มละ 4 คน เรียกว่า ”กลุ่มบ้าน”
3.2 สมาชิกในกลุ่มร่วมกันศึกษาใบความรู้ ใบงาน จนเกิดความเข้าใจ โดยผู้เรียนต้องทำแบบทดสอบย่อยๆ ในแต่ละเรื่อง เก็บคะแนนของตนเองไว้
3.3 นักเรียนแต่ละคนแยกกันทำแบบทดสอบ เพื่อหาคะแนนพัฒนาการของแต่ละคน จากการนำคะแนนทดสอบครั้งสุดท้าย ลบ ค่าเฉลี่ยของคะแนนย่อย
3.4 นำคะแนนพัฒนาการของทุกคนมารวมเป็นคะแนนกลุ่ม
4. ทักษะแห่งอนาคตใหม่ การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21
แก้ไขข้าพเจ้าได้สรุปเนื้อหาร่ววมกับเพื่อ และเขียน ตกแต่ง ผลงานในกระดาษชาจ รวมทั้งนำเสนอเนื้อหาดังนี้
ดักกลาส ฟิชเชอร์ และแนนซี เฟรย์ ศาสตราจารย์ด้านภาษาและการรู้ (Literacy) นำเสนอการเตรียมนักเรียนให้เชี่ยวชาญสำหรับ ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ความเชี่ยวชาญที่ว่า ได้แก่ ความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี ความเชี่ยวชาญในเรื่องความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นที่แตกต่างทางวัฒนธรรม ความเชี่ยวชาญในการแบ่งปันข้อมูลให้กับชุมชนโลก ความเชี่ยวชาญในการบริหาร การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ข้อมูลจำนวนมากที่ถาโถมเข้ามาหาพร้อมๆ กันได้เป็นอย่างดี การที่จะเกิดความเชี่ยวชาญเหล่านี้ครูผู้สอนจะต้องตอบสนอง ต่อหลักการที่สำคัญ 3 ประการต่อนักเรียน คือ
(1) ตอบสนองต่อหน้าที่การใช้งานของเครื่องมือ ไม่ใช่ ตัวเครื่องมือ เช่น หน้าที่ของ Google, Keynote, Winba, Ning, iChat ฯลฯ
(2) ตอบสนองต่อการ ทบทวนนโยบายทางเทคโนโลยี มารยาท กฎ การควบคุมพฤติกรรมทางสังคม ในการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นผ่านช่องท่างเหล่านี้
(3) ตอบสนองต่อพัฒนาการการคิดของนักเรียนอย่างจงใจ โดยบทเรียนที่เน้นประเด็นการคิด การสอนแบบชี้แนะ การสอนแบบให้ภารกิจความร่วมมือ ตลอดจนการสอนที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และครูต้อง ไม่คิดว่าการใช้เทคโนโลยีในการสอนเป็นสิ่งใหม่ เพราะการสอนด้วยเทคโนโลยีนั้นมนุษย์เรียนรู้และใช้เทคโนโลยีมาตลอดในประวัติศาสตร์
5. การจัดการเรียนรู้
แก้ไขข้าพเจ้าได้ทำพาวเวอร์พ้อย และนำเสนองานในเรื่อง "ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC)"
PLC คือ กระบวนการที่ครู รวมตัว ร่วมใจ รวมพลัง เรียนรู้ร่วมกัน ละร่วมทำ เพื่อพัฒนาผู้เรียน รวมทั้งพัฒนาครูด้วยกัน จนเกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่เข้มแข็ง โดยใช้โรงเรียน ห้องเรียนเป็นฐาน และนักเรียนเป็นหน้างาน ก่อให้เกิดการเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด และหลากหลาย เกิดการพัฒนาที่โรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และยั่งยืน ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งประเทศอย่างเป็นรูปธรรม
ความเป็นมาของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
แนวคิดที่มา PLC ของ Karson และคณะ (2000) ในสถานศึกษาที่พัฒนามาจาก “องค์กรแห่งการเรียนรู้” ที่มีการพัฒนาให้เหมาะสมกับบริบทขององค์กรที่เป็นโรงเรียน จึงมาเป็น “โรงเรียนแห่งการเรียนรู้” และมีการประยุกต์หรือพัฒนาจากงานวิจัยต่างๆ จนเกิดเป็น “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ”
ความหมายของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
PLC หมายถึง การรวมตัว ร่วมมือร่วมใจ และร่วมเรียนรู้ร่วมกันของครู ผู้บริหาร และนักการศึกษา บนพื้นฐานความสัมพันธ์แบบกัลยาณมิตร มีวิสัยทัศน์ คุณค่า เป้าหมาย และภารกิจร่วมกัน
เป้าหมายของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
1. เพื่อสร้างการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
2. เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยการเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงของครู
3. เพื่อสร้างการทำงานร่วมกันของครูแบบกัลยาณมิตร และแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
วัตถุประสงค์ของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
1. เพื่อเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การแลกเปลี่ยนเรียนรู้มีประสิทธิภาพ
2. เพื่อให้เกิดการร่วมมือ รวมพลังของทุกฝ่าย ในการพัฒนาการเรียนการสอนสู่คุณภาพผู้เรียน
3. เพื่อให้เกิดการพัฒนาวิชาชีพครูด้วยการพัฒนาผู้เรียน
เป้าหมายของการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ
1. เพื่อสร้างการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และเป็นเครื่องมือในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
2. เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงของครู พัฒนาวิชาชีพครูด้วยการพัฒนาผู้เรียน ตลอดจนเป็นการทบทวนการปฏิบัติงาน
3. เพื่อสร้างการทำงานร่วมกันของครูแบบกัลยาณมิตร ร่วมมือรวมพลังของทุกฝ่ายในการพัฒนาผู้เรียน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
องค์ประกอบสำคัญของ PLC
1. ต้องมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน มีเป้าหมาย ทิศทางเดียวกันมุ่งสู่การพนาการเรียนการสอนสู่คุณภาพผู้เรียน
2. ร่วมแรงร่วมใจ และร่วมมือ ต้องเปิดใจ รับฟัง เสนอวิธีการนำสู่การปฏิบัติและประเมินร่วมกัน open เปิดใจรับและให้ care และ Share
3. ภาวะผู้นำร่วม การทำ PLC ต้องมีผู้นำและผู้ตามในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
4. กัลยาณมิตร เป็นเพื่อนร่วมวิชาชีพเติมเต็มส่วนที่ขาดของแต่ละคน
5. ต้องปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร ต้องเน้นการทำงานที่เปิดโอกาสการทำงานที่ช่วยเหลือกันมากกว่าการสั่งการ มีชั่วโมง
6. การเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ การเรียนรู้การปฏิบัติงานและตรง กลับภาระงานคือการสอนสู่คุณภาพผู้เรียน
ประโยชน์ต่อครูผู้สอน
1. ลดความรู้สึกโดดเดี่ยวในการสอนของครูลง
2. เพิ่มความรู้สึกผูกพันต่อพันธกิจและเป้าหมายของโรงเรียนมากขึ้น โดยเพิ่มความกระตือรือร้นที่จะปฏิบัติให้บรรลุพันธกิจอย่างแข็งขัน
3. มีความรู้สึกที่ต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อการพัฒนาการโดยรวมของนักเรียนและร่วมกันรับผิดชอบเป็นกลุ่มต่อผลสำเร็จของนักเรียน