กันดาร
บรรยายสังเขป คำว่า “กันดาร”
กันดาร คือ อัตคัด หรืออาจหมายถึงสงสาร หากกล่าวถึงความเป็นสถานที่ ที่นั้นๆกล่าวว่าเป็นที่ๆแสวงหาได้ยากด้วยน้ำและอาหาร ในอีก ๔ ประการพระไตรปิฎกกล่าวหมายถึง ชาติกันดาร ๑(เป็นขึ้น ,เกิดขึ้น) ชรากันดาร ๑(เสื่อมทราม ,แก่) พยาธิกันดาร ๑(ด้วยโรคเบียดเบียน) มรณะกันดาร ๑(ภัยมัจจุ คือความตาย) ข้อนี้จะต้องทำบัญชีเป็นหลายอย่างด้วย เมื่อจะได้ชื่อบทความนั้น ก็ต้องรวมความ ในทางภูมิศาสตร์ซึ่งกล่าวเป็นโดยย่อ สรุปความในชื่อของบทความว่า ภูมิภาคอันแห้งแล้ง บริเวณอันแห้งแล้ง เขตกันดารแห้งแล้ง หรือที่เรียกกันว่า แผ่นดินที่เป็นทะเลทราย แต่คำว่ากันดาร จะรวมไปถึงหลายๆอย่าง ดังที่แสดงแล้วข้างต้น ซึ่งเกาะร้างที่มีแต่ภยันตราย ตลอดถึงอาการร้างราระโหยหา หรือรกร้างในคนก็ด้วย วิถีของการรอนแรมไกลเดินทางไม่หยุดเลย ก็ด้วย (deserted) พระพุทธเจ้าตรัสถึงทิฏฐิสิบประการ ในอรรถาธิบายนั้น ตรัสว่า ความคิดเห็นอันเป็นเสี้ยนหนาม มีแต่ความรกชัฏ กล่าวว่าคือ กันดาร! ด้วยอีกประการหนึ่ง
เพื่อจะข้ามทางกันดารนั้น หรือเพราะหลงอยู่ในทางแห่งกันดารไม่พ้นแล้ว มนุษย์ก็จึงได้สร้างโพยภัยบรรดามีต่างๆแก่กัน เบียดเบียนกันด้วยเหตุแห่งความเป็นอาหาร ซึ่งล้วนแล้วกำหนดหมายเป็นเรื่องทางใจอย่างลึกซึ้ง ในที่ร้ายๆนั้น ว่าเป็นเหตุเพราะ กันดาร! ข้อที่จะกำหนดแก้ความกำกวม หรือตั้งด้วยชื่อบทความเป็นสารานุกรม ก็อาจจะต้องถือว่าเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งยากที่จะสร้างได้ และก็ยากที่จะให้ชื่อบทความนั้นตรงกับเรื่อง (ทางภูมิศาสตร์) ดังกล่าวมานี้ ซึ่งควรมีบรรยายอยู่ พระคัมภีร์ว่าอย่างหนึ่งว่า นิโรธสัจ ดุจข้าวปลาหาง่าย และมรรคสัจ ว่าไว้ได้เหมือนดั่งฝนตกลงมาแล้วถูกต้องตามฤดูกาล. แต่เป็นโดยสังเขปให้เห็นอย่างนั้น ว่าเป็นอย่างดี. ที่ว่าไว้โดยอริยสัจจ์ธรรม แต่บททุกข์ยากอันจะไม่เป็นสุขให้สังสัคคะมาร่วมเป็นด้วยได้นั้น ก็คือความเข็ญใจได้ยากอยู่นั่นเอง ซึ่งได้อยู่ในสัจจะอยู่ร่วมกันนั้นด้วย เพราะว่าตัวทุกขสัจนั้น และตัวสมุทยสัจเป็นแรกเริ่มเดิมทีกว่าจะเป็นไปแก่มรรคและนิโรธนั้นได้ สัจจะสองอย่างแรกดังนี้ได้มีอรรถบรรยายไว้ว่า ดั่งข้าวยากหมากแพง ฝนแล้ง ดุจโรค และต้นตอของโรค(สมุทัย) ฉะนั้น
ความกันดารและตารางแสดงคำศัพท์ต่อไปนี้ ให้แสดงถึง ความทุรพล ให้ตรากตรำระกำเป็นต่างๆ ตามหมายที่มีปรากฏมาในพระไตรปิฎก ซึ่งได้แก่ ความว่า, หมายถึง, ได้แก่, ดังกล่าว, คือ หรือ เป็นอาทิ ว่าแห้งแล้ง (กันดาร). ซึ่งจะค้นไปกว่าตรงศัพท์ตามตัวมานั้นที่มีกำหนดว่า แปลว่า แล้วทีนี้จะได้เสริมกันให้ถึงแก่ความเป็นตำรา จึงให้ค้นออกไปให้ยิ่งกว่าเก่า ให้เป็นที่ควรจะได้ทำไว้เป็นสิ่งประดับเสริมพูนความรู้ สำหรับเฉพาะในชั้นเรียนที่เรียนกันมาในทางศาสนาอย่างนี้ก่อน
ว่าด้วยคำศัพท์ เรื่อง กันดาร (แห้งแล้ง) | ||||||
ลำดับที่ | คำศัพท์ | อนุทินศัพท์ ความหมาย/หรือนิยามศัพท์ | ||||
---|---|---|---|---|---|---|
๑. | วิวเน | แปลว่า เงียบเหงา | ||||
๒. | อีริเน | ความว่า แห้งแล้งกันดาร | ||||
๓. | นิเทศนัย คำว่า สตฺถา | นายพวกผู้พากองเกวียนเวียนข้ามกันดาร ที่กันดารเพราะโจร ที่กันดารเพราะสัตว์ร้าย ที่กันดารเพราะข้าวแพง ที่กันดารเพราะไม่มีน้ำ นายกองเกวียนย่อมพาให้พ้น ให้ข้ามไป ให้ถึง ให้บรรลุถึงถิ่น | ||||
๔. | คหณํ | ได้แก่ ก้าวล่วงได้ยาก (คหณ คหน คงที่หมายถึง ชัฏ, รก, รกชัฏ, รกเรี้ยว (รกมาก), หรือ ฟั่นเฝือ.) | ||||
๕. | ปตเมยฺย | แปลว่า พึงตาย (ข้อนี้ยังไม่ทราบ) | ||||
๖. | อคฺคิทฑฺฒาว อาตเป | ความว่า ถูกไฟคือความหิวกระหายแผดเผาย่อมเสวยทุกข์อย่างมหันต์ เหมือนถูกไฟเผาในที่ร้อนในฤดูหน้าแล้ง | ||||
๗. | สนฺนิปาติกา อาพาธา | ความเจ็บไข้เกิดจากสันนิบาต (คือประชุมกันแห่งสมุฏฐานทั้ง ๓), ไข้สันนิบาต คือความเจ็บไข้ที่เกิดขึ้นแต่ดี เสมหะ และลม ทั้ง ๓ เจือกัน | ||||
๘. | ชื่อว่า ทุหิติโก | เพราะเป็นที่ไปลำบาก หมายถึง คนดำเนินไปแม้สู่ทางคือกิเลส ก็ไม่อาจถึงสัมปัตติภพ. ทางคือกิเลสพระองค์จึงตรัสว่า ทุหิติโก (เป็นทางที่ไปลำบาก). ปาฐะว่า ทฺวีหิติโก | ||||
๙. | - | - |