กฎหมายการค้าระหว่างประเทศ/ภาคที่ 2




2
ซื้อขายระหว่างประเทศ


สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ (contract for international sale of goods) เป็นสัญญารูปแบบหลักทางการค้าระดับระหว่างประเทศ เพราะการค้าระหว่างประเทศมักเริ่มจากการซื้อขาย เมื่อซื้อขายแล้วจึงนำไปสู่กิจกรรมอย่างอื่นต่อไป เช่น ขนส่ง ประกันภัย และชำระราคา[1]

เนื่องจากในการซื้อขายระหว่างประเทศ คู่สัญญาอยู่คนละประเทศกัน อาจมีสัญชาติต่างกัน หรือต้องส่งสินค้าหรือบริการข้ามแดนกัน เป็นเหตุให้สัญญาซื้อขายอยู่ในบังคับแห่งกฎหมายของหลายท้องที่ซึ่งอาจลงรอยหรือขัดแย้งกันก็ได้ ต้องอาศัยหลักเรื่องการขัดกันแห่งกฎหมายมาชี้ขาดว่า จะนำกฎหมายใดมาใช้บังคับ กระนั้น แม้ได้คำตอบนี้แล้วก็ยังคงเกิดปัญหาอยู่ เพราะมีหลายครั้งที่คู่สัญญาปราศจากความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายที่จะต้องใช้บังคับ ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างลักลั่น ติดขัด หรือล่าช้าเกินสมควร

วงการระหว่างประเทศจึงสร้างและพยายามพัฒนากฎหมายกลางซึ่งเรียก "กฎหมายเอกรูป" (uniform law) เพื่อแก้ไขความขัดข้องข้างต้นเสมอมา กฎหมายเอกรูปอันเกี่ยวกับการซื้อขายระหว่างประเทศในปัจจุบัน คือ อนุสัญญากรุงเวียนนา (Vienna Convention) นอกจากนี้ ยังมีข้อตกลงล่วงหน้าซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการซื้อขายระหว่างประเทศเช่นกัน คือ อินโคเทอมส์ (Incoterms)

ในภาคนี้ จะได้ศึกษาเกี่ยวกับตัว อ.เวียนนา และอินโคเทอมส์เอง รวมถึงหลักเกณฑ์แห่งกฎหมายและข้อตกลงดังกล่าว และเพื่อประโยชน์แห่งการศึกษา ภาคนี้จึงแบ่งเนื้อหาดังนี้

  บทที่ 1   ว่าด้วย อ.เวียนนา

  บทที่ 2   ว่าด้วยอินโคเทอมส์

เชิงอรรถ แก้ไข

  1. กำชัย จงจักรพันธ์, 2555: 55.



ภาคที่ 1 ภาคทั่วไป ขึ้น ภาคที่ 2 • บทที่ 1
หลักเกณฑ์ตาม อ.เวียนนา