บทนี้ว่าด้วยไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ (English grammar) ซึ่งว่าด้วยหน้าที่ของคำ (parts of speech) ประโยค และวากยสัมพันธ์ (syntax)

อารัมภบท แก้ไข

การศึกษาภาษาอย่างเหมาะสมเป็นสาขาวิชาแห่งปัญญาขั้นสูงสุด หากฉันยกเว้นการอภิปรายเกี่ยวกับกิตติคุณโดยเปรียบเทียบของนิกายโรมันคาทอลิกและโปรเตสแตนต์เสียแล้ว ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษเป็นสาขาวิชาที่สำคัญที่สุดในวัยเด็กของฉัน—จอห์น ทินดอล[lower-alpha 1]

ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษอาจสรุปได้ดังนี้

  1. เป็นการบอกกฎวิธีใช้คำ
  2. เป็นบันทึกการใช้คำที่ควรยึดถือปฏิบัติ
  3. ว่าด้วยแบบรูป (form) ของภาษา
  4. ภาษาอังกฤษพิจารณาจากสภาพและการใช้คำในประโยค

บางประโยคที่ยกตัวอย่างมาตัดมาจากวรรณคดีภาษาอังกฤษสมัยใหม่ "มาตรฐาน" หรือหลังศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา ภาษาอังกฤษในวรรณคดี (literary English) ถือเป็นรากฐานของไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ

อาจมีคำและวลีจากภาษาอังกฤษพูดหรือภาษาปาก (spoken หรือ colloquial English) อันเป็นการสนทนาตามปกติที่ยังไม่มีการศึกษาในหมู่ปัญญาชน

วากยสัมพันธ์บางอย่างอาจเคยถูกต้องหรือเป็นมาตรฐานมาก่อน แต่ปัจจุบันเป็นไวยากรณ์เลวแล้ว ซึ่งเรียกว่าเป็นภาษาอังกฤษไร้รสนิยม (vulgar English) คือภาษาของผู้ไม่มีการศึกษาและคนเขลา[1]

สารบัญ แก้ไข

ประโยค แก้ไข

Sentence ~ ประโยค หมายถึง คำหรือกลุ่มคำที่พูดหรือเขียนออกไปแล้วมีความสมบูรณ์ เนื้อความชัดเจน ฟังเข้าใจได้ แล้วประโยคจะต้องมีอะไรบ้างเพื่อที่จะสมบูรณ์ ดังนั้น จึงต้องกล่าวถึงส่วนประกอบของประโยค ซึ่งแยกได้ดังนี้

ภาคประธาน + ภาคแสดง
รูปแบบที่ 1 ประธาน + กริยา
Birds fly.
นก บิน
รูปแบบที่ 2 ประธาน + กริยา + กรรม
The poor need food and clothes.
คนยากจน ต้องการ อาหารและเสื้อผ้า
รูปแบบที่ 3 ประธาน + กริยา + กรรม + ส่วนเติมเต็ม
I saw him reading a book.
ฉัน เห็น เขา กำลังอ่านหนังสืออยู่

ประโยคอาจมีเฉพาะแต่ภาคแสดงก็ได้ โดยละภาคประธานเอาไว้ในฐานที่เข้าใจ ส่วนมากใช้กับประโยคคำสั่ง เช่น (You) Sit down, please. ~ กรุณานั่งลงได้

เมื่อประโยคต้องประกอบด้วยประธานและกริยา แล้วอะไรที่จะมาเป็นประธานและกริยาได้ ซึ่งจะได้อธิบายในหัวข้อต่อไปนี้

ประธาน แก้ไข

คำที่จะมาเป็นประธาน (Subject) ในประโยคได้นั้น ได้แก่ คำ 7 จำพวก ได้แก่

  1. คำนามทุกชนิด
  2. คำสรรพนามทุกบุรุษ
  3. คำคุณศัพท์ที่นำมาใช้อย่างคำนาม
  4. กริยาสภาวะมาลา (Infinitive โครงสร้าง To + Verb) เช่น To walk, To give, To read
  5. กริยานาม (Gerund หรือ Verbal noun โครงสร้าง Verb 1 เติม ing) เช่น Walking, Drinking, Reading
  6. วลี (Phrase) ทุกชนิด
  7. ประโยค (Clause)

กริยา แก้ไข

รายละเอียดเพิ่มเติมดูที่ คำกริยา

ส่วนของกริยาในประโยคนั้นจะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่

  1. Transitive Verb ~ สกรรมกริยา คือ คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารองรับ จึงทำให้เนื้อความของกริยานั้นสมบูรณ์ ชัดเจนขึ้น
  2. Intransitive Verb ~ อกรรมกริยา คือ คำกริยาที่มีเนื้อความสมบูรณ์อยู่แล้ว ทำให้ไม่ต้องมีกรรมมารับเหมือนสกรรมกริยา

กรรม แก้ไข

จากที่กล่าวมาแล้วว่า สกรรมกริยา เป็นคำกริยาที่ต้องมีกรรม (Object) มารองรับ พูดถึงกรรมแล้ว อะไรบ้างที่จะมาเป็นกรรมของสกรรมกริยาได้ คำที่จะมาเป็นกรรมได้นั้น ได้แก่ คำทั้ง 7 จำพวก เหมือนกันกับประธาน ได้แก่

  1. คำนามทุกชนิด
  2. คำสรรพนามทุกบุรุษ
  3. คำคุณศัพท์ที่ใช้อย่างคำนาม
  4. Infinitive (โครงสร้าง To + Verb)
  5. Gerund (โครงสร้าง Verb 1 เติม ing)
  6. วลี (Phrase) ทุกชนิด
  7. ประโยค (Clause)

ส่วนเติมเต็ม แก้ไข

สกรรมกริยาบางตัว เมื่อมีกรรมมารับแล้วแต่ก็ยังฟังดูเนื้อความยังไม่สมบูรณ์ จึงต้องมี Complement ~ ส่วนเติมเต็ม ซึ่งหมายถึง คำหรือกลุ่มคำหลังคำกริยา ที่ทำให้ประโยคมีความหมายสมบูรณ์ขึ้น เช่น

The people in this country made him king. ~ ประชาชนในประเทศนี้ตั้งให้เขาเป็นพระราชา

(King เป็นคำนาม ทำหน้าที่ขยาย him จึงเป็นส่วนเติมเต็ม)

คำที่จะมาเป็นส่วนเติมเต็มได้นั้น ได้แก่ คำคุณศัพท์, คำนาม, Participle, Infinitive

ต้นฉบับ แก้ไข

  1. The proper study of a language is an intellectual discipline of the highest order. If I except discussions on the comparative merits of Popery and Protestantism, English grammar was the most important discipline of my boyhood.—John Tyndall.

อ้างอิง แก้ไข

  1. An English Grammar by W. M. Baskervill and J. W. Sewell, 1895. ซึ่งเป็นสาธารณสมบัติ